Menu

นิทรรศการเฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
หัวข้อ: พัฒนวิถีสู่ความศิวิไลซ์
นำเสนอภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งด้านการคมนาคม เช่น รถไฟ รถราง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถนนหนทาง สะพาน เรือเดินทะเล การสื่อสาร เช่น ไปรษณีย์โทรเลข ความเจริญก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้นตราบถึงปัจจุบัน
The Path to Modernization,
Reflecting changes in the country’s development and the adoption of new technology i.e. trains, trams, cars, motorcycles, roads, bridges, ships, as well as those in communication, such as postal services and the telegraph that were continually being updated to now.

สถานีรถไฟหัวลำโพง สร้างในปลายรัชกาลที่ ๕ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๓ ก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดใช้อย่างเป็นทางการในสมัยรัชกาลที่ ๖ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เสด็จพระราชดำเนินทรงกระทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ ๒๕ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๕๙

Established in 1910 in the reign of King Rama 5th, the construction of Hua Lamphong Train Station completed and inaugurated for official services, presiding over by King Vajiravudh in the opening ceremony on June 25, 1916.
สะพานรถไฟ แถบมณฑลอีสาน

A railway bridge, presumably in the northeast region.
การก่อสร้างถนน (ไม่ทราบรายละเอียด)

Road construction. Unknown details.
พิธีเปิดการเดินรถรางด้วยไฟฟ้าสายหนึ่งในพระนคร สมัยรัชกาลที่ ๕

Opening ceremony of an electric tram in Bangkok in the reign of King Rama 5th
สะพานผ่านพิภพลีลา เป็นสะพานข้ามคลองคูเมืองเดิม เชื่อมระหว่างถนนราชดำเนินในกับถนนราชดำเนินกลาง เดิมมีสะพานเก่าเป็นสะพานโค้งมีโครงเหล็ก ในพุทธศักราช ๒๔๔๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานขึ้นใหม่ ให้มีลักษณะกว้างใหญ่และงดงาม พระราชทานนามว่า “สะพานผ่านพิภพลีลา” เสด็จพระราชดำเนินไปทรงประกอบพิธีเปิดเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๙ อาคารข้างต้นไม้ใหญ่คือ คุกลหุโทษ

Phan Phiphob Lila Bridge, the bridge over the original moat connecting Ratchadamnern Nai Avenue and Ratchadamnern Klang Avenue nearby Sanam Luang. Originally, a curved steel frame but in 1902, it was beautifully rebuilt by King Chulalongkorn to be wider and renamed as “Phan Phiphob Lila Bridge”. He presided over the opening ceremony on November 15, 1906. The building seen nearby the big tree is the jail for light punishment.
สะพานนริศดำรัส (ขณะกำลังก่อสร้าง) หรือเรียกว่าสะพานดำ เป็นสะพานบนถนนจักรพรรดิพงษ์ช่วงข้ามคลองมหานาคหน้าวัดสระเกศ เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๔๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า “สะพานนริศดำรัส” เพื่อถวายพระเกียรติแก่สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ และเสด็จพระราชดำเนินไปทรงเปิดสะพานเมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๔๓

Narit Damrat Bridge (under construction) or Saphan Dam, crossing over Mahanak Canal at Chakraphadiphong Road in front of Wat Sraket, in Pomprab Satruphai Area. Built in 1899 by the command of King Chulalongkorn and graciously named “Narit Damrat Bridge” to honor Prince Narisara Nuvadtivong. He presided over the opening ceremony of the bridge on November 15, 1900.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงขับรถยนต์พระที่นั่ง มีพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช ประทับนั่งเบาะหน้า เจ้าจอมเอื้อนนั่งที่เบาะหลัง

King Chulalongkorn is driving a car with Prince Urubongs Rajsombhoj on the front seat and Chao Chom Uen on the rear seat.
งานชุมนุมรถยนต์ในสวนเทศน์ ในพุทธศักราช ๒๔๔๘ จากซ้ายไปขวา แถวหลัง
๑. หม่อมเติม ทองใหญ่ ณ อยุธยา
๒. หม่อมนวม ทองใหญ่ ณ อยุธยา
๓. เจ้าจอมมารดาสังวาล (ในรัชกาลที่ ๔)
๔. คุณหญิงนิ่ม บุนนาค
๕. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
๖. เจ้าจอมมารดาทับทิม (ในรัชกาลที่ ๕)
๗. ท่านผู้หญิงตลับ ยมราช
๘. หม่อมเจ้านิวาศสวัสดี จิระประวัติ
๙. เจ้าจอมมารดาชุ่ม (ในรัชกาลที่ ๔)

ยืนแถวหน้าจากซ้ายไปขวา
๑. นางสาวลินจง บุนนาค
๒. หม่อมเจ้าสุภางค์พักตร์ ไชยันต์
๓. นางสาวลำจวน บุนนาค
๔. คุณหญิงจี่ สุริยานุวัติ
๕. หม่อมเจ้าประสงค์สม บริพัตร

Cars assembly in Thet Garden, in 1905
From left to right, the back row.
1. M. Toem Thongyai
2. M. Nuam Thongyai
3. Chao Chom Sangwan (dowager in the 4th reign)
4. Khunying Nim Bunnag
5. Prince Damrong Rajanubhab
6. Chao Chom Thapthim (a royal consort in the 5th reign)
7. Thanphuying Talab Yomaraj
8. M.C. Niwatsawatdi Chirapravati
9. Chao Chom Chum (dowager in the 4th reign)

(Standing the front row from left to right)
1. Miss Linchong Bunnag
2. M.C.Suphangphak Jayanta
3. Miss Ramchuan Bunnag
4. Khunying Chi Surayanuwat
5. M.C.Prasongsom Paribatra
พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายในและข้าราชบริพารในงานชุมนุมรถยนต์ พุทธศักราช ๒๔๔๘ (แถวแรกจากซ้าย)
๑. พระยาบุษยรถบดี (ฟ้อน ศิลปี) คนขับ นั่งซ้ายสุด
๒. ท้าววรจันทร์ (เจ้าจอมมารดาวาด) ในรัชกาลที่ ๔ นั่งหลังพวงมาลัย
๓. เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (แพ บุนนาค) ในรัชกาลที่ ๕ นั่งถัดมา
๔. ท่านผู้หญิงตลับ สุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต บุนนาค) นั่งล่างสุด
(แถวที่สอง)
๕. เจ้าดารารัศมี พระราชชายา ในรัชกาลที่ ๕ ทรงยืนที่พื้นข้างรถ

(แถวที่สาม)
๖. เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ ๕ ยืนในรถ
๗. เจ้าจอมมารดาโหมด ในรัชกาลที่ ๕ ยืนที่ประตูรถ
(แถวหลังสุด)
๘. เจ้าจอมเลียม ในรัชกาลที่ ๕ ยืนหลังสุด

Ladies from the Inner Court in the cars assembly, in 1905.
(First row from left)
1. Phraya Busayarotbordi (Fon Silapi), driver, extreme left.
2. Thao Worachan (Chao Chom Manda Wad), dowager in the 4th reign, sitting behind the steering wheel.
3. Chao Khun Phra Prayoon Wong (Phae Bunnag), a consort in the 5th reign, sitting next.
4. Thanphuying Talab Suriyawong Wathanasak (To Bunnag), extreme sitting down. (second row)
5. Princess Dara Rasmi, a princess royal consort of the 5th reign, standing beside the car. (third row)
6. Chao Chom Manda Chum, a royal consort in the 5th reign, standing in the car.
7. Chao Chom Manda Mode, a royal consort in the 5th reign, standing at the car door. (extreme back row)
8. Chao Chom Liam, a royal consort in the 5th reign, standing extreme back.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทรงขับรถยนต์ส่วนพระองค์ภายในวังวรดิศ มีหม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล และหม่อมเจ้าดิศานุวัติ ดิศกุล ประทับนั่งข้างหลัง

Prince Damrong Rajanubhab, driving his own car in the Varadis Palace compound with M.C. Phunphitsamai Diskul and M.C. Disanuwat Diskul sitting on the back seat.
รถยนต์ของเจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) จอดอยู่หน้าร้านถ่ายรูป ฉายานรสิงห์

Chao Phraya Ram Rakhop’s car (M.L.Fua Phungbun) in front of Chaya Norasingha Photo Studio.
คณะผู้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสพระนครคีรี จังหวัดเพชรบุรี
(แถวหน้า)
๑. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต
(แถวที่สอง)
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจิรประวัติวรเดช กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม
๓. หม่อมเจ้าไศลทอง ทองใหญ่ (ประทับนั่งบนรถ พระหัตถ์จับคันยก)
(แถวที่สาม)
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอุรุพงศ์รัชสมโภช (ประทับนั่งบนรถ ทรงเท้าคางกับพนักพิง)

King Chulalongkorn’s entourage while visiting to Phra Nakhon Khiri, Phetchburi Province.
Front row:
1. Prince Paribatra Sukhumbandhu, Prince of Nakhon Sawan
Second row:
1.  Prince Chirapravati Voradej, Prince of Nakhon Chaisi 
2. Prince Prajak Silpakhom
3. M.C. Salaithong Thongyai (sitting in car, holding the controlling handle)
Third row:
1. Prince Purachatra Jayakara, Prince of Kamphaengphet
2. Prince Urubongs Rajsombhoj (seating in car, propping his chin up at the backrest)
ขุนสรรพกิจวิจารณ์ ผู้ชนะการแข่งขันมอเตอร์ไซค์ชิงชนะเลิศแห่งสยาม เมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๓ กำลังตั้งท่าขับขี่รถจักรยานยนต์ ฮาร์เลย์ เดวิดสัน รุ่น Twin Cylinder 1920 Model เพื่อถ่ายภาพประกอบการโฆษณา

Khun Sanphakit Vijarna, winner of the Siam Motorcycle Racing on October 30, 1920 is posing, riding a Harley Davidson motorcycle, Twin Cylinder 1920 Model, an image for commercial advertising.
เรือพระที่นั่งจักรี (ลำที่ ๑) เป็นเรือพระที่นั่งแบบเรือลาดตระเวน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้ในการเสด็จพระราชดำเนินภายในประเทศและต่างประเทศ เช่น เกาะสีชัง สิงคโปร์ และยุโรป ต่อขึ้นที่เมืองลีธ สก็อตแลนด์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๔ ขึ้นระวางประจำการที่ประเทศไทยเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๕ ปลดระวางเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๙

The Royal Chakri (the first one), a patrol yacht used by King Chalalongkorn for travelling in the country and abroad i.e. Koh Sichang, Singapore, and Europe for instance. Built in Leith, Scotland in 1891, the Royal Chakri Yacht was commissioned in Thailand in 1892 and out of commission in 1916.
เรือยนต์เดินทะเล NIBHA (นิภา) ของบริษัทอีสต์เอเชียติก มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา เป็นเรือที่ให้บริการทางชายฝั่งทะเลตะวันออก เส้นทางกรุงเทพฯ - จันทบุรี

NIBHA, a ship belonged to the East Asiatic Company, naming after Princess Nibha Nobhadol, Princess of Uthong, a daughter of King Chalalongkorn and Princess Saisavali Bhiromya Suddhasininat Piyamaharaj Padivaradda, operating on the east coast between Bangkok and Chanthaburi Province.
เรือยนต์เดินทะเล MALINI (มาลินี) ของบริษัทอีสต์เอเชียติก มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ - ปีนัง

MALINI, a ship of the East Asiatic Company, naming after Princess Malini Nobhadara, Princess of Srisatchanalai, a daughter of King Chalalongkorn and Princess Saisavali Bhiromya Suddhasininat Piyamaharaj Padivaradda, operating on the route between Bangkok and Penang.
เรือยนต์เดินทะเล MALINI (มาลินี) ของบริษัทอีสต์เอเชียติก มาจากพระนามของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามาลินีนภดารา กรมขุนศรีสัชนาลัยสุรกัญญา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ให้บริการเส้นทางกรุงเทพฯ - ปีนัง

MALINI, a ship of the East Asiatic Company, naming after Princess Malini Nobhadara, Princess of Srisatchanalai, a daughter of King Chalalongkorn and Princess Saisavali Bhiromya Suddhasininat Piyamaharaj Padivaradda, operating on the route between Bangkok and Penang.
ข้าราชการกรมไปรษณีย์โทรเลข ขณะเรียนการส่งไปรษณีย์ธนาณัติ สมัยรัชกาลที่ ๕

Civil servants of the Post and Telegraph Department are learning how to send the postal money orders in the 5th reign.
โต๊ะโทรเลขระหว่างประเทศ (เริ่มมีเมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๖)

International telegraph table (first operation in 1883)
บุรุษไปรษณีย์ ยืนอยู่ที่ตู้สำหรับทิ้งหนังสือฝาก

A postman standing at the post box to deliver a book. (unidentified name).
การสาธิตใช้เครื่องดูดฝุ่น ในบริเวณพระราชวังดุสิต ในสมัยรัชกาลที่ ๕

Demonstration of the vacuum cleaner machine in Dusit Palace in the reign of King Rama 5th.
ตึกห้างบี กริม แอนโก ตั้งอยู่มุมถนนเจริญกรุง ถนนมหาไชย เชิงสะพานดำรงสถิต (สะพานเหล็กบน) หรือสามยอด สร้างเมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๕ ต่อมาตึกนี้ใช้เป็นที่ทำการ บริษัท ไฟฟ้าสยาม คอร์เปอร์เรชั่น แล้วต่อมาได้เปลี่ยนเป็นที่ทำการ บริษัท ไทยนิยมพานิช

B Grim & Co. Building, built in 1912 at the corner of Charoen Krung Road, Mahachai Road, at the foot of Damrong Sathit Bridge (Saphan Lekbon) or Samyod. Later, the building became the office of Siam Electric Corporation and then was the building of Thai Niyom Phanit Company.

ผู้สนับสนุน



© 2018 เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก