Menu

นิทรรศการเฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
หัวข้อ: สัญลักษณ์ยืนยงดำรงไทย
นำเสนอภาพสัญลักษณ์ของชาติไทย ได้แก่ ช้างในบริบทต่างๆ เช่น พิธีคล้องช้าง ขบวนช้างพระที่นั่ง ขบวนช้างในพระราชพิธี และการใช้ช้างเพื่อลากซุง เป็นต้น ภาพศาลาไทย เช่น พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ในพระราชวังบางปะอิน และศาลาไทย ณ เมืองฮัมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฯลฯ
The National Icons, Enduring Symbols of Thailand;
This section presents the many icons that represent Thailand. One popular icon is the use of a figure of an elephant in many contexts, such as, the Elephant Harness Ceremony, the Procession of Royal Elephants, and the use of elephants for log-pulling, etc. Another is the symbol of a Thai Sala shown in many circumstances, such as its appearance in the Aisawan Thiphaya - At Pavilion inside the Bang Pa-in Palace, and the Sala Thai, built in Hamburg, the Federal Republic of Germany, etc.

ช้างต้นเทียบเกยหน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ในงานพระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๙

A royal elephant arriving at the transfer platform of Phra Thinang Abhisek Dusit in the inauguration of Phra Thinang Ananta Samakhom on January 11, 1916.
ช้างต้นเทียบเกยหน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ในงานพระราชพิธีเถลิงพระราชมณเฑียร พระที่นั่งอนันตสมาคม วันที่ ๑๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๕๙

A royal elephant arriving at the transfer platform of Phra Thinang Abhisek Dusit in the inauguration of Phra Thinang Ananta Samakhom on January 11, 1916.
โขลงช้างในคลองสระบัว ที่อยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

A herd of elephants in Khlong Sra Bua Canal, Ayutthaya, in the reign of King Chulalongkorn.
เจ้าแก้วนวรัฐขี่ช้างนำเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เข้าสู่เมืองเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๔๖๙

Chao Kaew Navarat, riding an elephant leading King Prajadhipok and Queen Rambhai Barni to the city of Chiang Mai in 1926.
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี ทอดพระเนตรลูกช้างพลาย ซึ่งต่อมามีพระราชพิธีสมโภชขึ้นระวางเป็น พระเศวตคชเดชดิลก เมื่อวันพุธที่ ๑๖ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๗๐

King Prajadhipok and Queen Rambhai Barni, looking at a baby elephant which was later given the title of Phra Sawet Khochadetdilok (celebration took place on November 16, 1927).
ช้างร่วมขบวนแห่ในพระราชพิธีโล้ชิงช้า ผ่านหน้าวังสราญรมย์

Participating elephants in the Royal Swing Ceremony procession are passing Wang Saranrom Palace.
ช้างร่วมขบวนแห่ในพระราชพิธีโล้ชิงช้า ผ่านถนนบำรุงเมือง

Participating elephants in the Royal Swing Ceremony procession are passing Bamrungmuang Road.
ขบวนอัญเชิญเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เข้าสู่เมืองเชียงใหม่ ผ่านหน้าวัดมหาวัน พุทธศักราช ๒๔๖๙

King Prajadhipok and Queen Rambhai Barni in the welcome procession while entering the city of Chiang Mai, passing Wat Mahawan in 1926.
การแสดงช้างลากซุง เมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว และสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินี เสด็จพระราชดำเนินประพาสเชียงใหม่ พุทธศักราช ๒๔๖๙

Demonstration of elephants dragging logs, part of the royal visit to Chiang Mai in 1926
สะพานไม้ข้ามลำน้ำแห่งหนึ่งในภาคเหนือ เมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลพายัพ พุทธศักราช ๒๔๔๑

A wooden bridge over a stream in the north, taken during Prince Damrong Rajanubhab’s inspection trip in the north, in 1898.
โขลงช้างในคลองสระบัว ที่อยุธยา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

A herd of elephants in Khlong Sra Bua Canal, Ayutthaya, in the reign of King Chulalongkorn.
ขบวนคาราวานช้างและเกวียนเมื่อคราวสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จตรวจราชการมณฑลอุดร พุทธศักราช ๒๔๔๙

Elephants and carts caravan, taken during Prince Damrong Rajanubhab’s inspection trip in Monthon Udon in 1906.
พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ เป็นพระที่นั่งทรงปราสาทโถงกลางน้ำ แบบจตุรมุข พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จำลองแบบมาจากพระที่นั่งอาภรณ์ภิโมกข์ปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง สร้างแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๔๑๙ พระราชทานนามว่า พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ตามนามพระที่นั่งองค์แรกซึ่งสมเด็จพระเจ้าปราสาททองโปรดให้จัดสร้างขึ้น ณ พระราชวัง บางปะอินแห่งนี้

Phra Thinang Aisawan Dhipaya Asana, an open hall in Prasat style, with four porches, built by King Chulalongkorn in the middle of an outer pond. It is a copy of the Phra Thinang Aphorn Phimok Prasat in the Grand Palace. Upon completion in 1876, name of the pavilion was given Phra Thinang Aisawan Dhipaya Asana after the first one, previously built by King Prasatthong at this Bang Pa In Palace.
พระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ภายในถ้ำพระยานคร จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นพลับพลาแบบจตุรมุข สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นฝีพระหัตถ์ของพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ กรมหมื่นปราบปรปักษ์ ทรงสร้างขึ้นในกรุงเทพฯ แล้วส่งไปประกอบ โดยให้พระยาชลยุทธโยธิน เป็นนายงานก่อสร้าง

Phra Thinang Khuha Kharuehat in Phraya Nakhon Cave, Prachuab Khirikhan, a four-porched pavilion which was constructed in Bangkok by Prince Khachorn Charatwong during King Chulalongkorn ‘s reign, then dismantled and moved to the cave where it was reconstructed by Phraya Chonlayuttha Yothin
ศาลาไทยเมืองฮัมเบิร์ก ประเทศเยอรมนี พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดสร้างเพื่อเป็นอนุสรณ์เมื่อครั้งเสด็จประพาสยุโรป พุทธศักราช ๒๔๕๐ มีลักษณะเป็นศาลาโถง หลังคาลด ๒ ชั้น จั่วหลังคาประดับรวยระกาและเหราจำหลักลวดลายปิดทองประดับกระจก

Thai pavilion in Hamburg, Germany built by the order of King Chulalongkorn to commemorate his Europe visit in 1907. The open-sided pavilion, double-imbricated roof, rich decoration of the gable with Ruayraka, Hera, gilded and glass mosaics.
ศาลาไทยในงานแสดงพิพิธภัณฑ์สยาม ณ กรุงปารีส พุทธศักราช ๒๔๗๙

Thai pavilion in the Siam Museum Exhibition, Paris, in 1936.

ผู้สนับสนุน



© 2018 เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก