Menu

นิทรรศการเฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
หัวข้อ: สถลวิถีอาคารตระการตา
นำเสนอภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณสถาน วัด วัง อาคารสถานที่ สถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พระนครคีรี ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย และสถานที่อื่นๆ เช่น บริษัท อีสต์ เอเชียติก หอพระสมุดส่วนพระองค์ สถานทูตอังกฤษ เป็นต้น
Magnificent Perspectives of New Roads and Architecture,
Images of archaeological sites, temples, buildings, architectural styles in those days; as seen in Wat Arun Ratchawararam, Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalararm, Wat Rajathiwat, Phra Nakhorn Khiri, Prasat Phanom Rung, Prasat Hin Phimai and others i.e. East Asiatic Company, the Royal Private Library, and the British Embassy. To date, some of these are still in existence as witness to past glory.

ปราสาทหินพิมาย
ปราสาทประธานของปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ก่อนการซ่อมบูรณะ ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) ในสมัยรัชกาลที่ ๔

Prasat Hin Phimai
The Sanctuary of Prasat Hin Phimai, Nakhon Ratchasima Province prior to restoration, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
พระที่นั่งอาภรณ์พิโมกขปราสาท
เป็นพระที่นั่งโถง ทรงจัตุรมุขยอดปราสาท สร้างด้วยไม้ทั้งองค์ ตั้งอยู่บนกำแพงแก้วพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท ลักษณะหลังคาเครื่องยอดชั้นลด ๔ ชั้น พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นพระที่นั่งโถงสำหรับการเสด็จ โดยพระราชยาน มีเกยรับ-ส่งเสด็จทั้งด้านหน้าและด้านหลัง โดยเฉพาะในพระราชพิธีโสกันต์พระเจ้าลูกยาเธอ หรือเกศากันต์เจ้านายที่มีพระชันษาครบวาระ ที่โปรดให้มีพระราชพิธีตามราชประเพณี ภาพนี้ถ่ายเมื่อคราวพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ เมื่อวันที่ ๔ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๐๘ นายจอห์น ทอมสัน ช่างภาพชาวสก็อตแลนด์ เป็นผู้ถ่ายภาพ

Phra Thinang Aphorn Phimok Prasat
Built by King Mongkut’s command, an open hall made of wood, building with four gabled ends and four layer of the roof, located behind the Kamphaeng Kaeo wall for the royal audience. There are Koei or transfer platforms used as the king's royal palanquin mounting platform, both in front and behind the hall especially during the topknot cutting ceremony for his children. This image shows the royal topknot cutting ceremony for Prince Chulalongkorn on January 4, 1865, taken by John Thomson, a Scottish photographer.
วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ พิษณุโลก
ก่อนการบูรณะ เห็นวิหารพระอัษฐารสและพระปรางค์ประธาน ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Wat Phra Si Ratana Mahathat, Phitsanulok
Prior to restoration, Viharn or housing building of Phra Attharot and the main prang of the temple, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
เจดีย์ราย และบันไดทางขึ้น วัดพระพุทธบาท ราชวรมหาวิหาร
อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี
ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Surrounding pagoda and steps to Wat Phra Phutthabat Ratchavora Mahavihara, Phra Phutthabat District, Saraburi Province, taken by by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง
เดิมเรียกว่าพลับพลาสูง สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช บนแนวกำแพงด้านทิศตะวันออกของพระบรมมหาราชวัง ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โปรดเกล้าฯให้รื้อและสร้างใหม่ พระราชทานนามว่า “ พระที่นั่งสุทธาสวรรย์” ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเปลี่ยนเป็น “ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท” ภาพถ่ายประมาณ พุทธศักราช ๒๔๑๐

Phra Thinang Suthai Sawan Prasat in the Grand Palace
Formerly called Phlaphlasung or high pavilion, built in the 1st reign along the east wall of the grand palace. It was pulled down, rebuilt and renamed as Phra Thinang Suthasawan by King Nangklao. However, the name was changed by King Mongkut to Phra Thinang Suthai Sawan Prasat, taken around 1867.
ประตูอุดรสิงหรักษ์ ในพระบรมมหาราชวัง
ประตูทางเข้าชาลาตอนหน้าพระที่นั่งอนันตสมาคม (องค์เดิม) ทางด้านทิศเหนือของหมู่พระอภิเนาว์นิเวศน์ ประตูเป็นบานคู่กรอบทำด้วยไม้ จำหลักลวดลายที่ได้รับอิทธิพลจากตะวันตก ริมกำแพงสองข้างของประตูตั้งเสาประทีปและซุ้มปืนใหญ่ อาคารที่ปรากฏด้านขวาภายในประตูคือห้องอาลักษณ์ และห้องเครื่องมหาดเล็ก ถ่ายเมื่อราวรัชกาลที่ ๔

Udorn Singharak Gate in the Grand Palace
Entrance to the front of the former Phra Thinang Ananda Samakhom, located north of Phra Abhinaowas Niwet Complex. The two engraved gate panels made of wood, influenced by the west. Both sides of the gate erected light posts and cannon booth. The building on right, inside of the gate is scribe office and kitchen for court official, taken in the 4th reign.
ท้องพระโรงพระที่นั่งอนันตสมาคมในพระบรมมหาราชวัง
พระที่นั่งอนันตสมาคม (องค์เดิม) เป็นพระที่นั่ง ๒ ชั้น มีมุข ๓ มุข ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออก หลังพระที่นั่งสุทไธสวรรย์ปราสาท มุขกลางยาว ๓ ห้อง ใช้เป็นท้องพระโรงสำหรับเสด็จออกว่าราชการ และประกอบพระราชพิธีต่าง ๆ มุขเหนือและมุขใต้เป็นโถงห้องเดียว ใช้เป็นที่เฝ้าของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ พระที่นั่งอนันตสมาคมนี้ใช้เป็นสถานที่ในการเสด็จออกรับคณะทูตที่เดินทางมาทำหนังสือเจริญสัมพันธไมตรี ซึ่งถ้ารับแบบเต็มยศจะเรียกว่า "ออกใหญ่" ถ้ารับแบบครึ่งยศจะเรียกว่า "ออกกลาง" ตามธรรมเนียมที่มีมาตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ ๔ นอกจากนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระประชวรและเสด็จสวรรคต พระที่นั่งอนันตสมาคมยังใช้เป็นที่รอเฝ้าฟังพระอาการประชวรของพระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ และยังเป็นสถานที่ที่ใช้ประชุมหารือกันในการถวายสิริราชสมบัติแด่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ กรมขุนพินิตประชานาถ และแต่งตั้งพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายอดยิ่งยศ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ขึ้นเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคลอีกด้วย

ในช่วงปลายรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระที่นั่งอนันตสมาคมอยู่ในสภาพชำรุดผุพังเป็นอันมาก ไม่เหมาะสมกับการใช้เป็นที่ประกอบพระราชพิธีเพราะเกรงว่าจะพังลงมา การบูรณะซ่อมแซมนั้นก็ต้องใช้เงินจำนวนมาก จึงโปรดให้รื้อลงและโปรดให้นำนามพระที่นั่งองค์นี้ไปเป็นนามพระที่นั่งองค์ใหม่ที่สร้างขึ้นบริเวณพระราชวังดุสิต นั่นคือ พระที่นั่งอนันตสมาคม ในปัจจุบัน

ภาพนี้ ถ่ายราวต้นรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากมีพระโธรน หรือพระเก้าอี้ราชบัลลังก์แบบตะวันตกทอดอยู่หน้าพระแท่นราชบัลลังก์แบบเดิม

Throne Hall of Phra Thinang Ananta Samakhom, the Grand Palace
A two storeyed building with 3 porches built at the east, behind Phra Thinang Suthai Sawan Prasat The middle porch lined covering 3 rooms used as the throne hall for audience and other royal ceremonies. The north and south apse was only one hall used for audience by members of the royal family and officials. This hall often used by for welcoming audiences, the foreign diplomatic corps to promote mutual relations.

In addition, during King Mongkut’s illness, here was used as waiting area for high ranking officials to hear about his condition, a meeting venue discussing Prince Chulalongkorn’s ascension to the throne, a meeting venue where appointment made for Prince Phra Ong Chao Yodyingyot Krom Muen Boworn Wichaichan to be Krom Phra Rajawang Boworn Sathanmongkhon. Late King Chulalongkorn’s reign, this building was badly ruined, not suitable for ceremonial use and the renovation would cost a lot of money. The Hall therefore was dismantled but its name used for the new hall built in Dusit Palace compound which is the current Ananta Samakhom Throne Hall. The image was taken in the 5th reign because the new western style throne was placed in front of the old traditional one.
ท้องสนามไชย
ตั้งอยู่หน้าพระบรมมหาราชวังด้านทิศตะวันออก บริเวณด้านหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท สนามบริเวณนี้เดิมเรียกว่า "สนามหน้าจักรวรรดิ” ตามแบบสนามหน้าพระที่นั่งจักรวรรดิไพชยนต์ในกรุงศรีอยุธยา ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กั้นเป็นบริเวณ โดยปักเสานางเรียงทางเหนือสนามแถวหนึ่ง ทางใต้แถวหนึ่ง กำหนดพระที่นั่งสุทไธสวรรย์เป็นกึ่งกลาง ข้างหน้าพระที่นั่งสุทไธสวรรย์สร้างพระแท่นเบญจาสำหรับเสด็จออกให้ข้าราชการเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท มีเกยช้างอยู่ด้านเหนือ เกยพระราชยานอยู่ด้านใต้ ริมสนามอีกฝั่งหนึ่งโปรดให้สร้างตึกสองชั้นสำหรับนายทหารอยู่ และสร้างโรงทหารต่อไปทางเหนืออีกแถวหนึ่ง บริเวณดังกล่าวนี้ให้รวมเรียกว่า ท้องสนาม่ไชย ในรัชกาลที่ ๕ เมื่อขยายเขตพระราชวังสราญรมย์ได้รื้อสิ่งก่อสร้างต่างๆ ในรัชกาลที่ ๔ ลง และปรับปรุงท้องสนามไชยใหม่

ท้องสนามไชย เป็นบริเวณที่ข้าราชการและประชาชนเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาท เมื่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จออก ณ พระที่นั่งสุทไธสวรรยปราสาท ในพระราชพิธีสำคัญของบ้านเมือง เช่น พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระราชพิธีอภิเษกสมรส ตามจดหมายเหตุครั้งรัชกาล ที่ ๕ เวลาเสด็จพระราชดำเนินทางสถลมารครอบพระนครในพระราชพิธีสำคัญ จะสร้างพลับพลาที่ประทับเพื่อพระราชทานสิ่งของที่ระลึกแก่พระบรมวงศานุวงศ์และข้าราชการ ณ บริเวณท้องสนามไชย ภาพนี้ถ่ายเมื่อราวปลายรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

Thong Sanamchai Courtyard
Located east, in front of the Grand Palace, opposite Phra Thinang Suthai Sawan Prasat, previously called “Sanam Na Chakrawat” according to the courtyard in front of Phra Thinang Chakrawat Phaichayon in Ayutthaya. By King Mongkut’s command, the area was designated by posting a long line of poles at north and south of the yard with Phra Thinang Suthai Sawan Prasat in the middle. In front of Phra Thinang Suthai Sawan Prasat, Phra Than Benja platform was built for public audience with elephant transfer platform at north, the king's royal palanquin mounting platform at south, a 2 storeyed building for soldiers located on another side of the yard and next further to north located a military camp. The entire area called Thong Sanamchai .

To expand Saranrom Palace, King Chulalongkorn dismantled the buildings in the 4th reign and improved Thong Sanamchai for public audience on significant occasions i.e. coronation ceremony, royal wedding etc. With reference to King Chulalongkorn’s archival message, when proceeding in the royal procession around the capital on major events, a pavilion would be constructed where he would offer souvenir items to the royal members and officials at Thong Sanamchai, taken late King Chulalongkorn’s reign.
พระที่นั่งอนันตสมาคม ในพระราชวังดุสิต
ขณะกำลังก่อสร้าง

Ananta Samakhom Throne Hall in Dusit Palace
During construction.
สถานอัครราชทูตอังกฤษ
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ซื้อที่ดินริมแม่น้ำเจ้าพระยาซึ่งอยู่ติดกับสถานกงสุลโปรตุเกส ขณะนั้นเป็นที่อยู่อาศัยของชาวมอญและพม่า ในราคาตารางวาละ ๑ บาท แล้วพระราชทานให้ตั้งเป็นสถานกงสุลอังกฤษ ตัวอาคารสร้างเสร็จราวพุทธศักราช ๒๔๑๙ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๓๘ สถานกงสุลอังกฤษยกระดับเป็นสถานอัครราชทูตอังกฤษ และได้ย้ายไปอยู่ที่ตั้งแห่งใหม่ในย่านเพลินจิต ส่วนอาคารหลังนี้ใช้เป็นอาคารไปรษณีย์กลาง ต่อมาได้รื้อทิ้งและสร้างอาคารไปรษณีย์กลางใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน
ภาพนี้ ถ่ายจากริมถนนเจริญกรุง เห็นพระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรียตั้งอยู่ด้านริมถนน และอาคารสถานอัครราชทูตอยู่ด้านใน

The British Legation
King Rama IV graciously gifted the land on the bank of Chao Phraya River situated next to the Portuguese Consulate to be the site of the British Consulate. His Majesty the King originally acquired this land by purchasing it from the Mon and Burmese Communities for the price of 1 baht per square meter. Building construction was completed around 1876. In 1895, the British Consulate was promoted to the Legation level, and later moved to a new site in the Ploenchit area. The older British Consulate building became the General Post Office, which later was dismantled for the construction of a new General Post Office building still in use to the present day.
This photo was taken from the street side of Charoen Krung Road. The statue of Queen Victoria can be seen nearer the road between the gates; the Legation Building appears further away in the back.
สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ
สร้างขึ้นบนที่ดินของพระยาภักดีนรเศรษฐ (นายเลิศ เศรษฐบุตร) ในย่านเพลินจิต โดยแลกเปลี่ยนกับที่ดินสถานอัครราชทูตเดิมริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาติดถนนเจริญกรุง ในภาพ ด้านหน้าสุดคืออนุสรณ์สถานสงคราม ถัดเข้าไปเป็นพระบรมรูปสมเด็จพระนางเจ้าวิกตอเรีย ซึ่งย้ายมาจากสถานอัครราชทูตเดิม และด้านในสุดคืออาคารทำเนียบเอกอัครราชทูต ซึ่งสร้างเสร็จสมบูรณ์ในพุทธศักราช ๒๔๖๙ ต่อมาในพุทธศักราช ๒๔๙๐ ได้ยกระดับเป็นสถานเอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย และในพุทธศักราช ๒๕๖๑ สถานเอกอัครราชทูตนี้ได้บรรลุข้อตกลงในการขายที่ดินให้แก่เอกชน และจะย้ายที่ทำการไปยังสถานที่ใหม่ต่อไป

The Embassy of the United Kingdom
The new British Embassy was constructed on land in the Ploenchit area that once belonged to Phraya Phakdi Noraset, who was commonly known as "Nai Lert.” The land was acquired in exchange for a part of the Legation premises on Charoen Krung Road that bordered the bank of Chao Phraya River. In front is the War Memorial and the Statue of Queen Victoria that was transferred from the previous site of the Legation. Beyond is the Minister's residence officially completed in 1926. In 1947, the British Legation was upgraded in level to become the Embassy of the United Kingdom in Thailand. The current premises were recently transferred in ownership to a private sector in 2018. Once again, the Embassy is in the process of moving to a new site in the near future.
พระมณฑป วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เป็นสถาปัตยกรรมจัตุรมุขเครื่องยอดทรงมงกุฎ ประดับกระเบื้องเคลือบและถ้วยหลากสี ภายในเป็นที่เก็บรักษาพระไตรปิฎก

The Mondop of Wat Phra Chetuphon Wimonmangkhlararm
King Rama III authorized the building of a structure in a tetrahedron-shaped architecture with a tiered-style roof. The entire building is ornamented with colorful glazed tiles and porcelains. It is the place where Buddhist Tripitakas are kept inside.
พระวิหารวัดสุวรรณาราม ราชวรวิหาร
ก่อนการบูรณะปฏิสังขรณ์

The Vihara of Wat Suwannaram Rajavaravihara
Before restoration.
พระอุโบสถ วัดราชาธิวาส ราชวรวิหาร
เป็นภาพพระอุโบสถหลังเดิม ต่อมาชำรุดทรุดโทรม พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงออกแบบสร้างพระอุโบสถใหม่ดังที่ปรากฏในปัจจุบัน

The Ubosot of Wat Rajadhivas Rajavaravihara
When the architecture of the Ubosot was badly deteriorated, His Majesty King Rama V commissioned his brother, Somdet Phra Chao Nong Ya Ther Chaofah Krom Phraya Narisara Nuvadtivongse to design a new building for the Ubosot whose construction is seen to the present.
อาคารหอพระสมุดในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดในพระองค์ไปที่หอสมุดสำหรับพระนคร และตั้งเป็นหอสมุดวชิราวุธ

The Royal Private Library Building of His Majesty King Rama VI.
It was located inside the Phra Tamnak Chitralada Rahothan, Chitralada Palace. After King Rama VI passed away, King Rama VII had relocated all the collections of the books here to be installed at the Library of Phra Nakhon and established that Library in honor of His Majesty King Rama VI by naming the "Vajiravudh Library."
อาคารหอพระสมุดในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
ในบริเวณพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวสวรรคต พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายหนังสือจากหอพระสมุดในพระองค์ไปที่หอสมุดสำหรับพระนคร และตั้งเป็นหอสมุดวชิราวุธ

The Royal Private Library Building of His Majesty King Rama VI.
The library was located inside the Phra Tamnak Chitralada Rahothan, Chitralada Palace. After King Rama VI passed away, King Rama VII relocated the collections of books and installed them in the newly established Library of Phra Nakhon. In honor of His Majesty King Rama VI, it was named the "Vajiravudh Library."
พระวิหารหลวง วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
ภาพพระวิหารหลวงทรงจัตุรมุขหลังเดิม ต่อมาชำรุดทรุดโทรม จึงได้สร้างพระวิหารหลังใหม่ขึ้นแทน เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๗

The Royal Vihara of Wat Phra Singha Vara Maha Vihara, Chiang Mai Province
The photo shows the tetrahedron-style architecture of the first Vihara, which later became deteriorated. The newer construction replaced the old one in 1924.
ลานด้านหน้าวิหารลายคำ และพระอุโบสถ วัดพระสิงห์ วรมหาวิหาร จังหวัดเชียงใหม่
วิหารลายคำเดิมมีมุขยื่นออกมาด้านหน้าคลุมบันไดทางขึ้น ซึ่งไม่ปรากฏในปัจจุบัน

The Open Ground in front of the "Lai Kham" Vihara and the Ubosot of Wat Phra Singha Vara Maha Vihara, Chiang Mai Province
The photo shows the structure of a portico, sheltering the stairs at the entrance of the "Lai Kham" Vihara, which has disappeared from view today.
ปราสาทประธาน ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
ภาพก่อนที่กรมศิลปากรจะดำเนินการบูรณะในพุทธศักราช ๒๕๑๔ จนเสร็จสมบูรณ์ และเปิดเป็นอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งในพุทธศักราช ๒๕๓๑

The Main Shrine or Prasat of Prasat Phanom Rung Sanctuary, Buriram Province
The 1971 photo shows the site before being restored by the Fine Arts Department. Restoration was completed and the Phanom Rung Historical Park was opened to public in 1988.
ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์
ตั้งอยู่บนกองหินบริเวณปราสาทประธาน ก่อนถูกโจรกรรมไปจัดแสดง ณ พิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศ และได้รับคืนกลับมาติดตั้งที่ปราสาทหินพนมรุ้งในปัจจุบัน

The Reclining Vishnu or Narai Banthomsin Lintel at Prasat Phanom Rung, Buriram Province
The photo shows the lintel left standing on the pile of stones in front of the main Prang before was stolen and smuggled out of the country. It reappeared in an exhibition gallery of a foreign museum and was finally returned to its original site in 1988 where it is seen in situ at present.
พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียร พระราชวังบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
ตั้งอยู่ในเขตพระราชฐานชั้นใน ตรงข้ามกับสระทางด้านตะวันออกของพระราชวังบางปะอิน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระที่นั่งองค์นี้เมื่อพุทธศักราช ๒๔๒๐ มีลักษณะเป็นอาคารไม้สองชั้น สไตล์ยุโรปแบบสวิสชาเลต์ เพื่อใช้เป็นที่ประทับ และโปรดให้ใช้เป็นที่รับรองพระราชอาคันตุกะจากต่างประเทศ ต่อมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๘๑ พระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรเกิดไฟไหม้เสียหายทั้งหมด

พุทธศักราช ๒๕๓๑ สำนักพระราชวังได้เตรียมการจัดสร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นมาใหม่ โดยใช้ข้อมูลจากภาพถ่ายเก่าและจากคำบอกเล่า เลียนแบบให้เหมือนองค์เดิม จนกระทั่ง ในพุทธศักราช ๒๕๓๖ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต สร้างพระที่นั่งอุทยานภูมิเสถียรขึ้นใหม่ ดังปัจจุบัน

Utthayan Bhumi Sathira Pavilion, Bang Pa-In Palace, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
Located in the inner court compound of the Bang Pa-In Palace, opposite the eastern pond, His Majesty King Rama V initiated the Pavilion to be built in 1877. The architecture, a two-floored European style building, is similar in character to a Swiss Chalet. The Pavilion was built as a royal residence and also to be used as a royal guest villa for foreign guests. The Pavilion was caught in a terrible fire and burned down in 1938.

In 1988, the Bureau of the Royal Household managed to reconstruct the Pavilion in much of the original style by collecting information from old photos and reminiscences of old people.

Later, in 1950, Her Majesty Queen Sirikit asked for the royal permission to build the new Pavilion of Utthayan Bhumi Sathira, which is as it appears today.
อาคารหลังหนึ่ง ในพระราชวังดุสิต
ตั้งอยู่ด้านด้านทิศเหนือของพระที่นั่งอภิเศกดุสิต ตรงอาคารรัฐสภาในปัจจุบัน ปรากฏในแผนผังพระราชวังดุสิต สันนิษฐานว่าเป็นอาคารท้องพระโรงเดิม ก่อนที่จะสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม

A Building inside the Dusit Palace
The building is situated to the north of the The Abhisek Dusit Pavilion, at the present location of the Parliament House of Thailand. It appears in the former ground plan of the Dusit Palace, and is assumed to be the original Audience Hall before the Ananta Samakhom Throne Hall was built.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทอดพระเนตรแม่ค้าที่หาบของมาขายภายในพระราชวังดุสิต

His Majesty King Rama V
Looking upon female peddlers who came to sell their goods inside the premises of the Dusit Palace.
บ้านและโรงพิมพ์หมอบรัดเลย์
หรือ American Missionary Association Press ตั้งอยู่ที่ปากคลองบางหลวง หรือคลองบางกอกใหญ่

The House and The Printing Press of Dr. Bradley
Known as the American Missionary Association Press, it was located at the mouth of Bang Luang, or Bangkok Yai Canal.
ท่าเรือหน้าที่ทำการบริษัทอีสต์ เอเชียติก
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ย่านบางรัก ด้านซ้ายมือคือโรงแรมแมนดาริน โอเรียนเต็ล

The Pier in front of The East Asiatic Company (EAC) Buildings
The pier is located on the bank of Chao Phraya River, in Bang Rak area. Seen on the left is the Mandarin Oriental Hotel.
ท่าเรือและคลังสินค้าบริษัทอีสต์ เอเชียติก
The Wharf and Warehouses of The East Asiatic Company (EAC)
เรือเดินทะเลของบริษัทอีสต์ เอเชียติก
เรือเดินทะเล ชื่อ MEONIA ของบริษัทอีสต์ เอเชียติก จอดทอดสมออยู่ที่ท่าเรือ เรือลำนี้ต่อขึ้นที่ประเทศเดนมาร์ก เพื่อใช้ในการเดินทางและขนส่งสินค้าระหว่างเมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก กับกรุงเทพฯ ระหว่างพุทธศักราช ๒๔๗๐ – ๒๔๘๓

A Ship of The East Asiatic Line
The ship, named MEONIA, belonging to the East Asiatic Line, is shown anchored at the port. It was built in Denmark for carrying passengers and transporting cargo between the city of Copenhagen, Denmark, and Bangkok, in use during the years 1927-1940.
ท่าเรือของบริษัทอีสต์ เอเชียติก
ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณวัดพระยาไกร (ร้าง) เป็นที่ขนถ่ายสินค้าและการเดินทางทางเรือทั้งในประเทศและต่างประเทศ

The East Asiatic Company (EAC) Wharf
Situated on the bank of Chao Phraya River, in the area of Wat Phraya Krai (abandoned), it is the place where goods were being transferred to and from the country.
พระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
วัดอรุณราชวราราม หรือวัดแจ้ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ติดกับพระราชวังเดิมกรุงธนบุรี เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดมะกอก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์แล้วพระราชทานชื่อใหม่ว่า วัดอรุณราชธาราม ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์ขนาดใหญ่ขึ้น ถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์เพิ่มเติมอีกแล้วเปลี่ยนชื่อวัดเป็น วัดอรุณราชวราราม

The Prang of Wat Arun Ratchawararam Ratchawara Maha Vihara
Wat Arun Ratchawararam or Wat Chaeng, is situated on the bank of Chao Phraya River, next to the Former Palace of the Thonburi Kingdom, or Phra Ratcha Wang Doem. It was an older temple from the Ayutthaya period, then called Wat Makok. In the reign of King Rama II, His Majesty ordered a restoration of the temple and renamed it, Wat Arun Ratchatharam. Later, King Rama III, commissioned the Prang to be rebuilt on a larger scale. Further restoration took place in the reign of King Rama IV and His Majesty renamed it once more to Wat Arun Ratchawararam.
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
Wat Arun Ratchawararam Ratchawara Maha Vihara
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
ถ่ายจากด้านทิศเหนือ ด้านขวามือเห็นยักษ์ที่หน้าประตูทางเข้าพระอุโบสถ

Wat Arun Ratchawararam
The photo was taken from the north direction where a statue of a demon or Yaksha, can be seen guarding the Ubosot entrance gate, on the right.
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
Wat Arun Ratchawararam
วิหารน้อย และโบสถ์น้อย วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกของพระปรางค์

The Little Vihara and the Little Ubosot, Wat Arun Ratchawararam
It is assumed to have been built since the Ayutthaya period, and is located on the eastern side of the central Prang.
วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร
เด็กชายนั่งอยู่บนพนักระเบียงพระปรางค์

Wat Arun Ratchawararam Ratchawara Maha Vihara
A boy is seen sitting on the parapet wall of the Prang of Wat Arun.
วัดอนงคาราม วรวิหาร
สร้างในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหาเจษฎาราชเจ้า โดยท่านผู้หญิงน้อย ในสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัต บุนนาค) แต่เดิมเป็นสวนกาแฟของผู้สร้าง ครั้นสร้างเสร็จได้ถวายเป็นพระอารามหลวง เดิมชื่อ วัดน้อยขำแถม คำว่า น้อย เป็นนามของท่านผู้หญิงน้อย คำว่า ขำแถม เป็นนามเดิมของท่านเจ้าพระยาทิพากรวงศ์มหาโกษาธิบดี (ขำ บุนนาค) ซึ่งมีส่วนในการปฏิสังขรณ์วัดนี้ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานนามว่า วัดอนงคาราม ภาพนี้ถ่ายจากด้านหน้าวัด เห็นพระวิหาร และเสาประทีปซึ่งปัจจุบันไม่ปรากฏแล้ว

Wat Anongkharam Wara ViharaThe temple
was built by Than Phuying Noi, the wife of Somdet Chao Phraya Borom Maha Phichaiyat (That Bunnag) during the reign of King Rama III, on land that was originally a coffee plantation of Than Phuying Noi. Once the construction was completed, it was offered to become a royal temple, under the name, Wat Noi Khamthaem. Noi was the name of Than Phuying, the donor and Khamthaem was the original name of Chao Phraya Thiphakorawongse Maha Kosadhibodi (Kham Bunnag,) who also contributed to its building. Later, the name was changed to Wat Anongkharam upon the Royal Initiation of His Majesty King Rama IV. This photo was taken at the front of the temple where the Vihara and the lantern post can be seen. The lantern post is no longer seen today.
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร
ขณะกำลังก่อสร้างพระอุโบสถ ถ่ายจากด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ เห็นสะพานพระรูปซึ่งเป็นสะพานข้ามคลองที่กั้นแบ่งเขตพุทธาวาสและสังฆาวาสอยู่ด้านล่างของภาพ

Wat Benchamabophit Dusitwanaram Ratcha Wara Vihara
The photo was taken during the construction of the Ubosot from the southeastern direction of the temple. It is where the Phra Rup Bridge crosses the canal that separates the monastery compound from the monks' residence, which can be seen at the lower part of the photo.
วัดสนามไชย อำเภอบางไทร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระเจดีย์วัดสนามไชย ตั้งอยู่บริเวณสามแยกบางไทร ซึ่งเป็นส่วนที่แม่น้ำน้อยไหลมาบรรจบกับแม่น้ำเจ้าพระยา

Wat Sanamchai, Bang Sai District, Phra Nakhon Si Ayutthaya Province
The photo shows the chedi of Wat Sanamchai, situated at the three-way junction of Bang Sai, where the water from Menam Noi merges into the Chao Phraya River.
วัดพระแก้วน้อย จังหวัดเพชรบุรี
ถ่ายจากบริเวณพระนครคีรี หรือเขาวัง ไปทางวัดพระแก้วน้อย และเห็นพระธาตุจอมเพชร เจดีย์ทรงระฆังบนยอดเขาด้านขวา

Wat Phra Kaew Noi in Phetchaburi Province
The photo was taken from the area of Phra Nakhon Khiri or Khao Wang, towards Wat Phra Kaew Noi where the bell-shaped stupa, Phra That Chom Phet is seen on the hilltop at the right.
เจดีย์รายในวัดเจดีย์เจ็ดแถว เมืองศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย
ถ่ายเมื่อคราวพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ได้เสด็จประพาสเมืองกำแพงเพชร เมืองสุโขทัย เมืองสวรรคโลก เมืองอุตรดิตถ์ และเมืองพิษณุโลก เมื่อพุทธศักราช ๒๔๕๐

Rows of Chedis in Wat Chedi Chet Thaew in Si Satchanalai District of Sukhothai Province
His Majesty King Rama VI took this photo while visited the cities of Kamphaengphet, Sukhothai, Sawankhalok, Uttaradit and Phitsanulok when His Majesty was the Crown Prince in 1907.
พระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี
Phra Narai Ratchaniwet or King Narai's Palace in Lopburi Province
บ้านหิมพานต์ หรือปาร์คสามเสน
ตั้งอยู่ริมถนนสามเสน พระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี) ผู้จัดการแบงก์สยามกัมมาจล เป็นผู้สร้าง ตั้งใจจะให้เป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจแบบสวนสาธารณะและเก็บเงินค่าบำรุงในการเข้าชม สร้างแล้วเสร็จในพุทธศักราช ๒๔๕๑ ภายในบ้านหิมพานต์มีอาคารหลายหลัง ในภาพนี้คือตึกชมพู ต่อมาที่ดินและตึกรวมทั้งสิ่งปลูกสร้างในปาร์คนี้ได้ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของแบงค์สยามกัมมาจล พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อที่ดินพร้อมด้วยตึกและสิ่งปลูกสร้างพระราชทานให้กรมสุขาภิบาล กระทรวงนครบาล เป็นผู้ปกปักษ์รักษาใช้เป็นสถานพยาบาลช่วยเหลือประชาชนผู้เจ็บป่วย ปัจจุบันคือโรงพยาบาลวชิระ
ในภาพมีชายสองคนนั่งอยู่บนเก้าอี้หน้าบ้าน ซ้ายมือ คือพระพรหมาภิบาล (แขก อิศรภักดี) ผู้เป็นบิดา และขวามือ คือพระสรรพการหิรัญกิจ (เชย อิศรภักดี)

Himmaphan House or Sam Saen Park
The place is situated on the side of Sam Saen Road. Phra Sapphakan Hiranyakit (Choei Itsaraphakdi), the manager of Siam Commercial Bank at the time, built this place as a park open to the public for a fee, to come visit and enjoy. The construction was complete in 1908. Many buildings are in the compound; shown here is the Pink Building. Later, the ownership of the land and its premises were transferred to the Siam Commercial Bank, which was subsequently graciously bought by King Rama VI with his private funds for the Department of Sanitation of the Metropolitan Ministry for use as a sanatorium to heal people. Today the place is the Vajira Hospital.
The two men who appear in the photo are Phra Phromabhibal (Khaek), the father, on the left, and Phra Sapphakan Hiranyakit (Choei Itsaraphakdi), on the right.
อู่บางกอกด๊อก
บริษัท บางกอกด๊อก จำกัด ก่อตั้งขึ้นในพุทธศักราช ๒๔๐๘ โดยชาวอังกฤษ ชื่อ กัปตันบุช หรือ พระยาวิสูตรสาครดิษฐ์ ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บนถนนเจริญกรุง แขวงยานนาวา ภายหลังกองทัพเรือเข้าซื้อกิจการและเปลี่ยนชื่อเป็น บริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด

The Bangkok Dock Company Limited
The Bangkok Dock Company Limited or formerly known as "Bangkok Dock Co." was established in 1865 by an Englishman, Captain Bush, who was later named Phraya Wisut Sakhondit. It is located on Charoen Krung or New Road at the bank of Chao Phraya River in the Yannawa District. After a time, when the Royal Navy became the only shareholders of business, the name was changed to Bangkok Dock Company (1957) Limited.
บ้านพิศาลบุตร
บ้านเดิมของพระยาพิศาลศุภผล (ชื่น พิศาลบุตร) ต้นตระกูลพิศาลบุตร สร้างขึ้นเพื่อเป็นท่าเรือกลไฟขนส่งสินค้าระหว่างจีน-ไทยในชื่อ ฮวย จุ่ง ล้ง ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณคลองสานฝั่งตรงข้ามกับถนนทรงวาด-เยาวราช ต่อมาขายให้แก่นายตันลิบบ๊วย แห่งตระกูลหวั่งหลี เพื่อใช้พื้นที่สำหรับสร้างโกดังค้าข้าว ปัจจุบันคือพื้นที่โครงการ ล้ง ๑๙๑๙

The Bisalputra Home
A former residence of Phraya Phisan Suphaphol (Chuen), the founder of Bisalputra Family. Built as a steamship-wharf to receive and discharge goods between China and Thailand, its name was Huai Chung Lhong, located on the bank of Chao Phraya River, in the Khlongsan area, across from Songwat-Yaowaraj Road. The premises were later sold to Mr. Tan Lib Buai of the Wanglee Family who converted its main function to be a Rice Warehouse. Today, the premises has been transformed into a living museum under the project named, LHONG 1919, the date when the Wanglee family purchased it.
กำแพงเมืองและคูเมืองนครศรีธรรมราชด้านทิศใต้
สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

The Southern Side City Rampart and Moat of Nakhon Si Thammarat
It was designed and built in the reign of King Narai The Great.
ศาลากลางเมืองอ่างทอง
The City Hall of Angthong
พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๖ ตั้งอยู่ที่ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี สำหรับเป็นที่ประทับแปรพระราชฐานในฤดูร้อน ภาพนี้ถ่ายจากเรือในทะเลเข้าไปที่ชายฝั่ง เห็นเรือใบกำลังแล่นอยู่หน้าพระตำหนัก

Phra Ratchaniwet Mrigadayavan
The Mrigadayavan Palace was built in 1923 in Cha-am District of Phetchaburi Province to be the summer palace of His Majesty King Rama VI. This photo was taken from a boat at sea facing the shore; some sailboats are seen sailing in front of the palace.
ร้านรับจำนองอสังหาริมทรัพย์ เกรดีต์ฟองเชียร์ เดอ ลินโดจิน
The Mortgage Shop, Crédit Foncier de l'Indochine

ผู้สนับสนุน



© 2018 เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก