Menu

นิทรรศการเฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
บทนำ

การถ่ายภาพเกิดขึ้นครั้งแรกราวพุทธศักราช ๒๓๗๐ (ค.ศ.๑๘๒๗) โดยนายโจเซฟ นีชฟอร์ เนียฟซ์ (Joseph Nicephore Niepce)

พุทธศักราช ๒๓๗๒ นายหลุยส์ แจคกัวส์ มันเด ดาแกร์ (Louis Jacques Mande Daguerre) ได้ร่วมงานกับนายโจเซฟ นีชฟอร์ เนียฟซ์ (Joseph Nicephore Niepce) ค้นคว้าเรื่องการใช้วัสดุไวแสงพวกซิลเวอร์คลอไรด์ในการบันทึกภาพ ต่อมามีการค้นพบกระบวนการถ่ายภาพที่ใช้ซิลเวอร์ไอโอไดเป็นสารไวแสง เรียกว่า กระบวนการถ่ายภาพแบบ “ดาแกโรไทพ์” ซึ่งได้รับความนิยมเป็นอย่างมาก แต่การถ่ายภาพตามระบบนี้ถ่ายได้เพียงทีละภาพ

พุทธศักราช ๒๓๙๔ เฟรเดอริก สกอตต์ อาร์เชอร์ ( Frederick Scott Archer พุทธศักราช ๒๓๕๖ –๒๔๐๐ อายุ ๔๔ ปี ชาวอังกฤษ) คิดระบบ Wet plate หรือ กระจกเปียก โดยนำน้ำยามาอาบบนกระจกใสขณะอยู่ในห้องมืด แล้วนำกระจกนั้นไปถ่ายภาพทันที ข้อดีของระบบนี้คือได้ภาพคมชัดและสามารถอัดภาพกี่ภาพก็ได้ จึงเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วโลก ระบบฟิล์มกระจกดังกล่าวแพร่เข้ามาถึงเมืองไทยตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ (ครองราชย์ พุทธศักราช ๒๓๙๔ – ๒๔๑๑)

หลังจากการถ่ายรูปด้วยกระจกเปียกแล้ว ต่อมาจึงมีผู้คิดกระจกแบบสำเร็จรูป ที่เรียกว่ากระจกแห้งหรือ Dry Plate


การถ่ายภาพยุคแรกของไทย เริ่มจาก พุทธศักราช ๒๓๘๒ เมื่อสังฆราช ฌ็อง บาติสต์ ปาเลอกัวร์ (Jean Baptita Pallegois) สั่งให้บาทหลวงปิแอร์ ลาร์โนดี ซึ่งมีความรู้ทางช่างและการถ่ายรูป นำกล้องถ่ายรูประบบดาแกโรไทพ์ เข้ามา และถ่ายทอดวิชาให้พระยากระสาปน์กิจโกศล (โหมด อมาตยกุล) เป็นคนแรก แต่ภาพถ่ายในยุคนั้นไม่มีเหลือให้เห็น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่ทรงยอมให้ช่างฉายภาพ ทรงส่งพระบรมฉายาลักษณ์ระบบดาแกโรไทพ์ระบายสี ฝีมือพระยากระสาปน์กิจโกศล ไปถวายสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๐

ช่างถ่ายรูปชาวไทยในยุคแรกๆ นอกจากพระยากระสาปน์กิจโกศลแล้วยังมี นายจิตร หรือ ฟรานซิส. จิตร ซึ่งได้รับราชทินนามเป็นขุนสุนทรสาทิสลักษณ์ และหลวงอัคนีนฤมิตร ตามลำดับ กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา พระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล)

เฉพาะนายจิตรนั้น ได้เปิดร้านถ่ายรูปบนแพลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาที่วัดกุฎีจีน (วัดซางตาครูซ) ตั้งแต่ พุทธศักราช ๒๔๐๖ และได้ฉายภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ภาพเจ้านาย ขุนนาง รวมทั้งภาพสถานที่ไว้เป็นจำนวนมาก ภาพเหล่านี้ ปัจจุบันเก็บอยู่ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ

ยุคทองของการถ่ายภาพ คือ ยุคของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากทรงมีความสนพระราชหฤทัยต่อการถ่ายภาพมาก โดยเฉพาะในช่วง ๒๔๔๐ จนสิ้นรัชกาล ทรงถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง และจัดกิจกรรมให้พระบรมวงศานุวงศ์ทั้งฝ่ายหน้า ฝ่ายในและเหล่าขุนนางเล่นกล้อง ดังทรงจัดให้มีร้านถ่ายรูปหลวงในงานวัดเบญจมบพิตร พุทธศักราช ๒๔๔๗ หรือจัดให้มีการประชันรูปในงานปี ๒๔๔๘ เป็นต้น

พุทธศักราช ๒๔๖๙ รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ (ครองราชย์ระหว่าง พุทธศักราช ๒๔๖๘ -๒๔๗๗) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้ทรงจัดตั้งหอเก็บรูปต่างๆ ขึ้นในหอพระสมุดวชิรญาณ หน้าวัดมหาธาตุ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของหอสมุดสำหรับพระนคร เพื่อให้เป็นหอรูป หรือ Picture Gallery เช่นในต่างประเทศ

ได้ทรงขอพระราชทานฟิล์มกระจกส่วนพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวมารวมไว้และยังได้ประทานกระจกรูปของพระองค์เองทั้งหมดมารวมไว้ด้วย ต่อมาเมื่อร้านถ่ายรูปฉายานรสิงห์ ปิดกิจการ ก็ทรงขอกระจกรูปมารวมไว้อีก ทำให้หอรูปมีรูปที่เก็บไว้เป็นจำนวนมาก (ร้านฉายานรสิงห์เปิดเมื่อ พุทธศักราช ๒๔๓๙ โดยนาย โรเบิร์ต เลนซ์ (Robert Lenz) ชาวเยอรมัน ใช้ชื่อร้านว่า "แลนซ์, แล บริษัท" (Robert Lenz & Co.) เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่ ๑ ถูกรัฐบาลสยามยึดเอาไว้ ด้วยเหตุว่าเป็นร้านของคนเยอรมัน จากนั้นรัฐบาลก็เข้าไปบริหารกิจการต่อในพุทธศักราช ๒๔๖๑ แล้วเปลี่ยนชื่อเสียใหม่ว่า ร้านฉายานรสิงห์ จนมาเลิกกิจการในสมัยรัชกาลที่ ๗)


ฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณฯ ส่งมอบให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเป็นผู้ดูแล ต่อมาเมื่อพุทธศักราช ๒๕๒๐ และพุทธศักราช ๒๕๓๔ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รับมอบภาพฟิล์มกระจกดังกล่าวจากพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ เป็นจำนวน ๓๕,๔๒๗ แผ่น หลังจากนี้สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้รวบรวมและรับมอบฟิล์มกระจกจากแหล่งอื่นเพิ่มเติมอีกจำนวนหนึ่ง จากการรถไฟแห่งประเทศไทย จากกรมแผนที่ทหาร และจากคลังภาพส่วนพระองค์ของกรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน

สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติดำเนินการอนุรักษ์จัดเก็บรักษาฟิล์มกระจก โดยการกำหนดเลขประจำกล่องและฟิล์มกระจกทุกแผ่น จัดทำทะเบียนเบื้องต้น เพื่อควบคุมการหยิบเก็บฟิล์มกระจกให้มีความเรียบร้อย จัดเก็บฟิล์มบนตู้เหล็กในห้องคลังที่ควบคุมอุณหภูมิที่ ๑๘ องศาเซลเซียส ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ความชื้นสัมพัทธ์ไม่เกิน ๔๐ เปอร์เซ็นต์ ป้องกันการชำรุดของฟิล์มกระจกอันเกิดจากปัจจัยภายใน อาทิ ความเปราะบางของกระจก สารเคมีที่เคลือบบนผิวกระจกที่มีการเสื่อมสภาพได้ง่าย อายุของฟิล์มกระจก และการชำรุดจากปัจจัยภายนอก อาทิ สภาพแวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิและความชื้น หรือมนุษย์ ขณะเดียวกันก็ได้ดำเนินการอัดขยายภาพจากฟิล์มกระจกบางส่วนลงในกระดาษอัดภาพเป็นหลักฐาน

พุทธศักราช ๒๕๔๖ สำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติได้เริ่มนำเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาประยุกต์ใช้กับฟิล์มกระจก โดยทำการสแกนฟิล์มกระจกต้นฉบับให้ได้ภาพดิจิทัล เพื่อประโยชน์ต่อการอนุรักษ์ฟิล์มกระจกต้นฉบับและข้อมูลทางประวัติศาสตร์ รวมถึงการเข้าถึงภาพถ่ายจากฟิล์มกระจกที่สะดวกและรวดเร็วขึ้น

วันที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๕๕๙ ได้มีการพิจารณาเสนอฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ซึ่งเก็บรักษาอยู่ในสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยแผนงานความทรงจำแห่งโลก ประเทศไทย และวันที่ ๓๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๖๐ องค์การศึกษา วิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ประกาศให้ฟิล์มกระจกและภาพต้นฉบับจากฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณ เป็นมรดกความทรงจำแห่งโลก นับเป็นเอกสารรายการที่ ๕ ของไทยที่ได้รับการขึ้นทะเบียนจากยูเนสโก ที่ผ่านมาประเทศไทยได้ขึ้นทะเบียนมรดกความทรงจำแห่งโลกมาแล้ว ๔ ชิ้น ได้แก่

  • ๑. ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง หลักที่ ๑ ขึ้นทะเบียนเมื่อพุทธศักราช ๒๕๔๖
  • ๒. เอกสารจดหมายเหตุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฏิรูปการบริหารการปกครอง ประเทศสยาม ขึ้นทะเบียนเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๒
  • ๓. จารึกวัดโพธิ์ ประกาศขึ้นทะเบียนในระดับภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก เมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๑ และขึ้นทะเบียนในระดับโลกในพุทธศักราช ๒๕๕๔
  • ๔. บันทึกการประชุมคณะกรรมการสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ในรอบ ๑๐๐ ปี ขึ้นทะเบียนเมื่อพุทธศักราช ๒๕๕๖


ในพุทธศักราช ๒๕๖๑ นี้บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณ ในฐานะที่เป็นหลักฐานสำคัญทางประวัติศาสตร์ชาติไทย ช่วยสะท้อนให้เห็นถึงวิวัฒนาการด้านต่างๆ ทั้งการเมืองการปกครอง เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมประเพณี วิถีชีวิตความเป็นอยู่ บุคคล สถานที่ และเหตุการณ์สำคัญในอดีต จึงได้ให้ความร่วมมือกับสำนักหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กรมศิลปากร ด้วยการสนับสนุนงบประมาณสำหรับจัดทำนิทรรศการ และจัดพิมพ์หนังสือ “เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก”

ในการนี้ คณะกรรมการได้คัดเลือกภาพจากฟิล์มกระจกชุดหอพระสมุดวชิรญาณมานำเสนอเป็นตัวอย่างจำนวนหนึ่ง โดยแบ่งออกเป็น ๘ หัวเรื่อง ดังนี้

๑. มองเมืองไทยผ่านฟิล์มกระจกมรดกความทรงจำ
นำเสนอการถ่ายภาพตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งเป็นยุคที่เมืองไทยเริ่มเล่นกล้องกันมาก โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเป็นผู้นำ เห็นได้จากภาพที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งกล้องเตรียมการถ่ายภาพด้วยพระองค์เอง ภาพสมเด็จพระเจ้าลูกเธอและสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอทรงเล่นกล้องและกำลังถ่ายภาพ เป็นต้น

๒. สัญลักษณ์ยืนยงดำรงไทย
นำเสนอภาพสัญลักษณ์ของชาติไทย ได้แก่ ช้างในบริบทต่างๆ เช่น พิธีคล้องช้าง ขบวนช้างพระที่นั่ง ขบวนช้างในพระราชพิธี และการใช้ช้างเพื่อลากซุง เป็นต้น ภาพศาลาไทย เช่น พระที่นั่งไอศวรรย์ทิพยอาสน์ ในพระราชวังบางปะอิน และศาลาไทย ณ เมืองฮัมเบิร์ก สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ฯลฯ

๓. เลิศล้ำอำไพพระราชพิธี
นำเสนอภาพที่เกี่ยวกับพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชพิธีโสกันต์ พิธีเปิดพระบรมรูปทรงม้า พระราชพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ งานพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี

นอกจากนี้ยังมีภาพการเสด็จประพาสต้นของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว การเสด็จประพาสมณฑลปักษ์ใต้ของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว และการเสด็จตรวจราชการมณฑลอีสานของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เป็นต้น

๔. พัฒนวิถีสู่ความศิวิไลซ์
นำเสนอภาพที่สะท้อนให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงของวิวัฒนาการความเจริญก้าวหน้าและเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งด้านการคมนาคม เช่น รถไฟ รถราง รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ถนนหนทาง สะพาน เรือเดินทะเล การสื่อสาร เช่น ไปรษณีย์โทรเลข ความเจริญก้าวหน้าต่างๆ เหล่านี้ได้พัฒนาประเทศไทยให้มีความทันสมัยยิ่งขึ้นตราบถึงปัจจุบัน

๕. ศิลปวัฒนธรรมไทยงดงามประเพณี
นำเสนอภาพเกี่ยวกับวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ที่พักอาศัย การเดินทางทั้งทางบกและทางน้ำของชุมชนริมแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองต่างๆ การประกอบอาชีพ เช่น การค้าขายของชำ การขายสินค้าจากต่างประเทศ เครื่องอุปโภคบริโภค ผลไม้ สมุนไพรจีน และการจับสัตว์น้ำ การแต่งกายของบุรุษและสตรีไทย ทรงผม การกรองมาลัย การจัดดอกไม้ การแข่งกีฬาฟุตบอล การแสดงนาฏศิลป์ ฯลฯ

๖. สถลวิถีอาคารตระการตา
นำเสนอภาพเกี่ยวกับแหล่งโบราณสถาน วัด วัง อาคารสถานที่ สถาปัตยกรรมต่างๆ เช่น วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร วัดราชาธิวาสราชวรวิหาร พระนครคีรี ปราสาทหินพนมรุ้ง ปราสาทหินพิมาย และสถานที่อื่นๆ เช่น บริษัท อีสต์ เอเชียติก หอพระสมุดส่วนพระองค์ สถานทูตอังกฤษ เป็นต้น

๗. ลือชาบุคคลในประวัติศาสตร์
นำเสนอภาพบุคคลสำคัญที่มีบทบาทต่อการเมืองการปกครองและสังคม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งภาพพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ และพระสงฆ์

ตัวอย่างเช่น ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) เป็นต้น

๘. พระบรมนาถเจริญทางพระราชไมตรี
นำเสนอภาพการเสด็จประพาสต่างประเทศของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ภาพคราวเสด็จประพาสยุโรป ครั้งที่ ๑ พุทธศักราช ๒๔๔๐ และครั้งที่ ๒ พุทธศักราช ๒๔๕๐ ภาพพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู ประพาสสิงคโปร์ และภาพพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวเมื่อคราวเสด็จประพาสอินโดจีน พุทธศักราช ๒๔๗๓ เป็นต้น ภาพเหล่านี้สะท้อนให้เห็นความสัมพันธ์ระหว่างสยามกับนานาประเทศได้เป็นอย่างดี


Introduction "Celebrating the National Photographic Glass Plate Negatives Recognized as UNESCO Memory of the World"

Photography was first invented about 1827 by Joseph Nicephore Niepce.

In 1829, he partnered with Louis Jacques Mande Daguerre in furthering the study on the use of light-sensitive inorganic substances that were based on using a formulation of silver chloride in photographing the images. After Joseph Nicephore Niepce passed away, Daguerre continued researching until he discovered a photographic technique using a mirror-like silver-surfaced metal plate that had been fumed with iodine vapor, which reacted with the silver to form a coating of silver iodide. The silver iodide, therefore, became the new light-sensitive inorganic substance used in photography. It was called a "Daguerreotype" photographic process, due to its invention by Louis Jacques Mande Daguerre. The technique became very popular but was limited because it could only take one photo at a time.

In 1851, an Englishman named Frederick Scott Archer (1813-1857) invented the glass plate negative method for use in photography. The glass plate negative was first called a "Wet Plate" because its technique was to coat a solution of collodion onto a glass plate, in a dark room. The glass plate negative had to be used immediately while still wet to photograph the image. The wet glass plates created a sharper, more stable and detailed negative. Furthermore, a photographer could produce several prints from one negative. Therefore, it became more popular globally. The introduction of glass plate negative photography was introduced into Thailand during the reign of King Rama IV (1851-1868.)

After the wet glass plate negative had been in use for some time, an improved technique called the "Dry Plate" was developed. Here, the photosensitive solution was dried onto the glass plate before using, allowing time before a photo had to be taken and was easier for transport.


The first era of photography in Thailand began in 1839 when the Bishop Jean-Baptiste Pallegoix arranged for L' Abbé Larnaudie, a French Jesuit missionary, who had skills in craftsmanship and photography, to bring a Daguerreotype camera with him to Thailand. The first Thai person they gave instruction on photography to was Phraya Krasap Kitkoson (Moat Amatayakul.) Unfortunately, there is no glass plate negative of that period left for evidence.

His Majesty King Rama IV was the first Thai King who allowed a photographer to take his photograph. The photograph was taken by Phraya Krasap Kitkoson, using a Daguerreotype camera and it was retouched in a color tone. His Majesty sent his photograph to Her Majesty Queen Victoria of Great Britain, as a friendly gesture, in 1857.

The early Thai photographers, besides Phraya Phraya Krasap Kitkoson, included Nai Chit or Francis Chit, who was granted the titles of Khun Sunthon Sathitsalak and later Luang Akkhani Naruemitr respectively; Krom Muean Alongkot Kitpricha and Phra Pricha Konlakan (Sam-ang Amatayakul).

Nai Chit was especially keen. In 1863, he opened the first studio for business on a floating raft, in the Chao Phraya River at Wat Kudichin (Santa Cruz Church.) The studio was called “Francis Chit & Son Studio.” He took photos of Their Majesties King Rama IV and King Rama V, Royal Families, noblemen, as well as many places. These large numbers of photos are now being kept in the National Archives of Thailand.

The golden age of photography in Thailand was in the reign of King Rama V due to his great interest in the subject. He was especially active from 1897 to end of his period. His Majesty personally liked to take photographs himself and regularly arranged events for the royal families, on official occasions and in the royal court, to try out the cameras. Some examples of these events were to have a royal photo studio shop opened in the Fair at Wat Benchamabophit in 1904, and to plan for a photo competition in 1905, etc.

In 1926, during the reign of King Rama VII (1925-1934), Prince Damrong, or Somdetch Phrachao Barommawongse Ther Krom Phraya Damrong Rajanubhab, the president of the Royal Library of Phra Nakhon Council, initiated the establishment of the Picture Gallery in the Royal Vajirayanaa Library, which was situated inside the Royal Library of Phra Nakhon, in front of Wat Maha That. The Photo Gallery was organized to function the same as galleries in many Western countries.

Prince Damrong requested that the private collections of the royal glass plate negatives from Their Majesties King Rama V and King Rama VI be collected and placed there. He added his own photographic collection and also included some glass plate negatives from the "Chaya Norasingha Photo Studio Shop” after its business was closed down. (This photo studio shop was opened in 1896 by a German photographer, named Robert Lenz, who had been a court photographer since the period of King Rama V. He had named his studio, Robert Lenz & Co. The studio was confiscated and its business was taken over by the Siamese government as a consequence of World War I. The business reopened under a new name, "Chaya Norasingha," until the business was closed during the reign of King Rama VII.) Thus, there were a great deal of glass plate negatives in the collection of the Picture Gallery by that time.

When the organization was later restructured, the glass plate negatives were transferred to the care of the Division of National Museums and later to the National Archives Division of the Fine Arts Department. The collections were moved in two phases, in 1977 and 1991 respectively. At present, these organizations were renamed the Office of National Museums and the National Archives of Thailand. Later, the National Archives of Thailand has also collected and received more glass plates from other sources to be added into their collection. These collections were from the State Railway of Thailand, Royal Thai Survey Department, and the private collection of Prince Purachatra Jayakara, Prince of Kamphaengphet. The total number of glass plate negatives in the collection is 35,427 plates.


To facilitate care and custodianship of the glass plates, the National Archives of Thailand has identified each box with a number and every glass plate with its own primary registration. To better preserve the glass plates, they are kept in a room at 18o C, year-round, at a relative humidity of 40% or below. Some of the glass plates were reproduced as prints on paper to keep as evidence because possible damage may occur negatives from internal factors, i.e. fragile condition, coated chemical substance, age of the plates, or from external factors, such as a changing environment from temperature, humidity or human handling.

In 2003, a new technology was applied by the National Archives of Thailand for the preservation of the images on the glass plates. They scanned the original ones now to be stored as digitized images. These digitized images benefit both preservation of the original plates, and provide quick and convenient access to the historic information pictured on the plates.

On January 21, 2016, the consideration was proposed to nominate the original glass plate negatives and prints kept in the National Archives of Thailand, Fine Arts Department, to the Thai National Memory of the World Committee. On October 30, 2016, The United Nations Educational, Scientific and Cultural Organization (UNESCO) made the announcement that the glass plate negatives with the original prints from the Royal Vajirayana Library is accepted as a Memory of the World Documentary Heritage. This is Thailand’s fifth listing of the Memory of the World Register by UNESCO.

In the past, four nominations from Thailand have been inscribed in the Memory of the World International Register: they are:
  • 1. The King Ram Khamhaeng Inscription was inscribed in 2003,
  • 2. Archival Documents of King Chulalongkorn's Transformation of Siam (1868-1910) was registered in 2009,
  • 3. Epigraphic Archives of Wat Pho, registered at the level of Asia Pacific Region in 2008 and as the Memory of the World Register in 2011, and
  • 4. "The Minute Books of the Council of the Siam Society," 100 years of recording international cooperation in research and the dissemination of knowledge in the arts and sciences, registered in 2013.


Fully aware of the value and significance of the glass plate negatives from the Royal Vajirayana Library, the important historical evidence featuring diverse development in political, economic, social, cultural and traditional aspects, lifestyle, personalities, places and major events in the past, the Thai Beverage Public Company Limited is delighted to cooperate with the National Archives of Thailand, Department of Fine Arts, in providing financial support to organize the exhibition and publication of a book entitled "Celebrating the National Glass Plate Negatives Recognized as UNESCO Memory of the World."

In collaborative efforts, the committee has selected some images from the Royal Vajirayana Library’s Collection, presenting the original prints and displaying the nation’s significant cultural heritage under 8 topics as follows.

1. Thailand, Through Glass Plate Negatives, Memory of the World Heritage Register,
Presenting prints from the reign of King Rama V onward. Photography in his reign was considered the golden age. His keen interest in photography stimulated interest in the royal members from the inner and outer courts. His enthusiasm is shown here by an image of King Rama V setting up a camera to take a photo by himself, including an image of his children enjoying their camera while taking a photo, etc.

2. The National Icons, Enduring Symbols of Thailand;
This section presents the many icons that represent Thailand. One popular icon is the use of a figure of an elephant in many contexts, such as, the Elephant Harness Ceremony, the Procession of Royal Elephants, and the use of elephants for log-pulling, etc. Another is the symbol of a Thai Sala shown in many circumstances, such as its appearance in the Aisawan Thiphaya - At Pavilion inside the Bang Pa-in Palace, and the Sala Thai, built in Hamburg, the Federal Republic of Germany, etc.

3. Royal Ceremonies of Grace and Splendor,
Composed of images of the Coronation Ceremony of King Chulalongkorn, King Vajiravudh and King Prajadhipok, the Top-knot Cutting Ceremony, the Opening Ceremony of King Chulalongkorn’s Statute, the Royal Ploughing Ceremony, the Royal Cremation Ceremony of King Chulalongkorn, King Vajiravudh, and Princess Srivilailaksana, Princess of Suphanburi. There are additional images of King Chulalongkorn while traveling incognito, King Vajiravudh’s visit to the South Region and Prince Damrong Rajanubhab’s official inspection trip to the Northeast Region.

4. The Path to Modernization,
Reflecting changes in the country’s development and the adoption of new technology i.e. trains, trams, cars, motorcycles, roads, bridges, ships, as well as those in communication, such as postal services and the telegraph that were continually being updated to now.

5. The Classical Beauty in Thai Arts and Traditional Culture,
Displaying ways of life, including housing, community land and water transports along the bank of the Chao Phraya River and other canals, and occupations, such as grocery shops, import businesses, consumer goods, fruits, Chinese herbs and fishery, attire of Thai men and women, hairstyle, floral designs, football matches, and traditional dance. These images reflect ancient culture and lasting traditions of Thailand worthy of passing down and preserving for the future.

6. Magnificent Perspectives of New Roads and Architecture,
Images of archaeological sites, temples, buildings, architectural styles in those days; as seen in Wat Arun Ratchawararam, Wat Phra Chetuphon Wimon Mangkhalararm, Wat Rajathiwat, Phra Nakhorn Khiri, Prasat Phanom Rung, Prasat Hin Phimai and others i.e. East Asiatic Company, the Royal Private Library, and the British Embassy. To date, some of these are still in existence as witness to past glory.

7. Prominent Personalities in Thai History,
Photos of important figures who played vital roles in the reign of King Rama IV and King Rama V. These are the royal photos of the Kings, Krom Phra Rajawang Bovorn Sathanmongkhon, royal members, court officials, and monks. Presented photos included photos of King Mongkut, King Chulalongkorn, Queen Sri Bajarindra, King Vajiravudh, Krom Phra Rajawang Bovorn Wichaichan, Prince Purachatra Jayakara, Prince of Kamphaengphet, Mom Rachothai (M.R. Kratai Isarangkura), Chao Phraya Suraphanphisut (Thet Bunnag) and Somdej Phra Phutthachan (To Phromrangsi.)

8. Their Majesties the Kings and International Relations.
Presenting King Chulalongkorn’s overseas visits to Java, Indonesia, the first Europe tour in 1897 and the second one in 1907, images of King Vajiravudh’s visit to Malaya, Singapore and images of King Prajadhipok’s visit to Indochina in 1930.. These images reflect good relations between Siam and other countries worldwide.

ผู้สนับสนุน



© 2018 เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก