Menu

นิทรรศการเฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก
หัวข้อ: ลือชาบุคคลในประวัติศาสตร์
นำเสนอภาพบุคคลสำคัญที่มีบทบาทต่อการเมืองการปกครองและสังคม ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทั้งภาพพระมหากษัตริย์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชการ และพระสงฆ์ ตัวอย่างเช่น ภาพพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร) เจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) และสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรังสี) เป็นต้น
Prominent Personalities in Thai History,
Photos of important figures who played vital roles in the reign of King Rama IV and King Rama V. These are the royal photos of the Kings, Krom Phra Rajawang Bovorn Sathanmongkhon, royal members, court officials, and monks. Presented photos included photos of King Mongkut, King Chulalongkorn, Queen Sri Bajarindra, King Vajiravudh, Krom Phra Rajawang Bovorn Wichaichan, Prince Purachatra Jayakara, Prince of Kamphaengphet, Mom Rachothai (M.R. Kratai Isarangkura), Chao Phraya Suraphanphisut (Thet Bunnag) and Somdej Phra Phutthachan (To Phromrangsi.)

ชายแต่งกายไว้ผมทรงหลักแจว
สวมใส่เสื้อคอตั้งแขนยาว นุ่งผ้าโจงกระเบน มีผ้าคาดสะเอว สันนิษฐานว่าถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Unidentified man
Wearing Lak Chaew old hair style in mandarin collar, long-sleeved shirt and loincloth with waistband, standing (unidentified name), presumably taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชุมสาย กรมขุนราชสีหวิกรม
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาเอมใหญ่ เมื่อวันพุธ ที่ ๑๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๕๙ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นกรมหมื่นราชสีหวิกรม แล้วเลื่อนเป็นกรมขุนสีหราชวิกรม กำกับกรมช่างศิลาและช่างสิบหมู่ สิ้นพระชนม์เมื่อวันศุกร์ ที่ ๒๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระชันษา ๕๓ ปี ต้นราชสกุลชุมสาย ทรงพระภูษาจีบ พระหัตถ์ขวาถือพระแสงแบบญี่ปุ่น พระหัตถ์ซ้ายถือวงเวียน ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Prince Jumsai, Krommuen Rajasihavikrom,
the 21st son of King Nangklao and Chao Chom Manda Emyai. Born on March 12, 1816, King Mongkut bestowed upon him the title of Krommuen Rajasihavikrom and then elevated to Krom Khun Rajasihavikrom, responsible for the Statesmanship and Traditional Arts Department. He died on Friday, September 25, 1868 at 53 of age, the origin of Jumsai family, wearing frowned long wrap, holding in the right hand is Japanese sword and dividers in the left hand, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
ภริยาและบุตรของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
จากซ้ายไปขวา
๑.พระยาประภากรวงศ์ (ชาย)
๒.พระยาราชานุวงศ์ (เล็ก)
๓.ท่านผู้หญิงอ่วม บุนนาค
๔.เจ้าพระยาสุรวงศ์วัฒนศักดิ์ (โต)
ฉายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Chao Phraya Surawongwaiwat (Worn Bunnag)’s wife and sons.
From left to right.
1. Phraya Phasakornwong (Chai)
2. Phraya Rajanuwong (Lek)
3.Thanphuying Surawongwaiwat (Uam)
4. Chao Phraya Surawongwathanasak (To)
taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
ท่านผู้หญิงอ่วม บุนนาค ภริยาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค)
ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Thanphuying Uam Bunnag (wife of Chao Phraya Surawongwaiwat or Worn Bunnag,
taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
พระยาประดิพัทธภูบาล (คอยู่เหล ณ ระนอง)
ขณะเป็นพระยายืนชิงช้าในพระราชพิธีตรียัมปวาย พุทธศักราช ๒๔๗๔ เป็นพระยายืนชิงช้าคนสุดท้ายของกรุงรัตนโกสินทร์ ด้วยรัชกาลที่ ๗ โปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกพระราชพิธีนี้เพราะบ้านเมืองประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

Phraya Pradiphatthaphubal (Koryule Na Ranong)
as Swing Lord during the Tri Yampawai or Swing Ceremony in 1931which was the last time of its kind in Ratanakosin Period. Due to economic depression, King Prajadhipok gave up this royal event.
ชายแต่งกายไว้ผมทรงหลักแจว
ใส่เสื้อคอตั้งแขนยาว นุ่งผ้าโจงกระเบน ยืนถือกระบี่ (เข้าใจว่าเป็นข้าราชการ)
สันนิษฐานว่าถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Unidentified man
wearing Lak Chaew old hair style in mandarin collar, long-sleeved shirt, loincloth, standing and holding a sword,
presumably taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
หญิงแต่งกายไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม
ใส่เสื้อแขนยาว ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้าโจงกระเบน นั่งบนเก้าอี้ บนโต๊ะมีเครื่องยศคือ กาน้ำ กระโถน และหีบหมากทองคำ มีเด็กชายแต่งกายสวมหมวก นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมสังวาลและกำไลข้อมือ ยืนอยู่ด้านข้าง สันนิษฐานว่าเป็นชนชั้นสูงในราชสำนัก มีบ่าวหมอบอยู่ด้านซ้ายมือของภาพ

Unidentified woman,
wearing Dok Krathum old hair style, long-sleeved shirt, breast cloth, loincloth, sitting on chair with golden kettle, spittoon, and betel nut box.. A boy standing next to her, wearing a hat, loincloth, bracelet, and breast chain. Presumably, a noble lady in court as a servant crouching at left of the image.
พระราชโอรส ธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาบัว
จากซ้ายไปขวา พระองค์เจ้าศรีสิทธิธงไชย พระองค์เจ้าอรไทยเทพกัญญา พระองค์เจ้าวัฒนานุวงศ์ ฉายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Children of King Mongkut and Chao Chom Manda Bua.
From left to right: Prince Srisiddhi Thongjaya, Princess Oradaya Debkanya, Prince Wathananwong, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani) in the reign of King Mongkut.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พฺรหฺมรงฺสี) วัดระฆังโฆสิตาราม
นามเดิม โต บรรพชาเป็นสามเณรในรัชกาลที่ ๑ ศึกษาพระปริยัติธรรมอยู่ ณ สำนักวัดระฆังโฆสิตาราม เป็นสามเณรที่เทศน์ได้ไพเราะ ครั้นอายุครบบวช รัชกาลที่ ๑ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้อุปสมบทเป็นนาคหลวง ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ท่านมีความรู้แตกฉานในพระธรรมยิ่งนัก รัชกาลที่ ๔ ทรงตั้งเป็นพระราชาคณะที่พระธรรมกิติ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๕ ต่อมาเป็นพระเทพกระวี และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จพระพุฒาจารย์ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๗ มรณภาพเมื่อวันเสาร์ ที่ ๒๒ มิถุนายน พุทธศักราช ๒๔๑๕ สิริอายุ ๘๕ ปี พรรษา ๖๕

Somdet Phraphuthachan (Phromrangsi), Wat Rakhang Khositaram.
Formerly named To, ordained as a novice in the 1st reign and studied Dhamma at Wat Rakhang Khositaram., preaching pleasant sermons. At the monkhood age, he was royally ordained as a royal naga at the Temple of Emerald Buddha and so knowledgeable in Dhamma. King Mongkut appointed him Phra Thamkiti in 1852 and then Phra Thepkrawi. In 1864 he was appointed Somdet Phraphuthachan and died on Saturday, June 22, 1872, aged 85, totally 65 years (rainy seasons) in monkhood.
สมเด็จพระพุฒาจารย์ (พฺรหฺมรงฺสี) วัดระฆังโฆสิตาราม
ในงานทำบุญฉลองพระพุทธรูปของหลวงกลมัยนฤมิต (เหลี่ยม ศุกรสุข) ที่ตำบลบ้านช่างหล่อ จังหวัดธนบุรี ด้านซ้าย มีพระครูปลัดมิศร์ วัดระฆังโฆสิตาราม ด้านขวาพระอาจารย์ดำ วัดอมรินทราราม

Somdet Phraphuthachan (Phromrangsi),
Wat Rakhang Khositaram in a merit making to celebrate a Buddha image of Luang Kolamainaruemit (Liam Sukorasuk) at Tambon Ban Changlo, Thonburi Province. Phra Khrupaladmit of Wat Rakhang Khositaram on the left and Phra Acharn Dam of Wat Amarindraram on the right.
เจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค)
เกิดเมื่อ พุทธศักราช ๒๓๘๔ ในรัชกาลที่ ๓ เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) กับหม่อมหรุ่น เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๔ เป็นนายรองไชยขรรค์มหาดเล็ก แล้วเป็นนายสรรพวิชัยหุ้มแพรมหาดเล็ก จากนั้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี ในรัชกาลที่ ๕ เลื่อนเป็นพระยาสุรินทรฦๅชัย ผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี และเลื่อนตำแหน่งเป็นข้าหลวงเทศาภิบาลมณฑลราชบุรี ในเดือนมกราคม พุทธศักราช ๒๔๔๐ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นเจ้าพระยา ตามจารึกในหิรัญบัฏว่า เจ้าพระยาสุรพันธพิสุทธิ์ ชนุตมราชภักดี สกลเทพมนตรีมิตรจิตร สุจริตวราธยาไศรย เสนานุวัตรสมัยสมันตโกศล ยุติธรรมวิมลสัตยารักษ์ สุนทรศักดิ์วัฒนไวย อภัยพิริยพาหุ ดำรงศักดินา ๑๐,๐๐๐ เป็นบิดาของ “เจ้าจอมก๊กออ” และเจ้าจอมแส ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพนี้ถ่ายในรัชกาลที่ ๔ โดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Thet Bunnag
Born in 1841 in the reign of King Nangklao, a son of Somdej Chao Phraya Borommahaprayunwong (Dis Bunnag) and Mom Run, his official service began In the reign of King Mongkut as a court official, Nai Rongkhanchai Mahadlek, then Nai Saphawichaihumphrae Mahadlek, after that assigned to be Phra Phetphisai Srisawat , Deputy Governor of Phetchburi.

In the 5th reign, he was promoted to be Phraya Surinthararuechai, Governor of Phetchburi and then became the Governor of Monthon Ratchburi in January 1897 and graciously gave him the title in silver plate “Chao Phraya Suraphanphisut Chanutamarajaphakdi Sakonthepmontrimitchit Sucharitwarathayasrai Senanuwatsamaisamantakoson Yutithamwimonsatayarak Sunthonsakwathanawai Aphaiphiriyaphahu, upholding 10,000 rice-fields as of feudal system (owning rice-fields proportion to his rank) and the father of “Chao Chom Kok Aw” and Chao Chom Sae, a royal consort of King Chulalongkorn, taken in the 4th reign by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
พระยาประภากรวงศ์ (ชาย บุนนาค)
บุตรคนโตของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอ่วม เข้ารับราชการในสมัยรัชกาลที่ ๕ เป็นจางวางมหาดเล็ก ต่อมาได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์เป็น พระยาประภากรวงศ์วรวุฒิศักดิ์ ตำแหน่งผู้บังคับการกรมทหารเรือ
ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Chai Bunnag
The oldest son of Chao Phraya Surawongwaiwat (Worn Bunnag) and Thanphuying Uam Bunnag. His court service began in the 5th reign as Mahadlek, promoted later in the title of Chao Phraya Praphakornwong Worawuthisak, serving as Commander of the Naval Department,
taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) (พุทธศักราช ๒๓๕๑ - ๒๔๒๕)
เป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ของสยามในสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เริ่มรับราชการเป็นมหาดเล็กในสมัยรัชกาลที่ ๒ และได้รับสถาปนาเป็นสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ในรัชกาลที่ ๕ ซึ่งนับเป็นผู้ที่ดำรงตำแหน่งสมเด็จเจ้าพระยาเป็นคนสุดท้าย และเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการอัญเชิญพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นครองสิริราชสมบัติ และได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ตั้งแต่พุทธศักราช ๒๔๑๑ - ๒๔๑๖
ภาพนี้เป็นภาพถ่ายต้นฉบับ มีฉากหลังเป็นผ้าและโครงไม้ ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Somdet Chaophraya Borom Maha Sri Suriwongse (1808-1882)
Personal name was Chuang Bunnag, a high-ranking nobleman of Siam in Ratanakosin Period, joined official service in the 2nd reign as Mahadlek and promoted Somdet Chaophraya Borom Maha Sri Suriwongse in the 5th reign. He was the last one holding Somdej Chao Phraya position, who played a vital role in King Chulalongkorn’s ascension to the throne. Also, he was appointed the regent from 1868 to 1873.
This is the original print with wooden framed cloth backdrop, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากลาง กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาน้อยระนาด เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๓๔๘ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงได้รับสถาปนาเป็น กรมหลวงเทเวศร์วัชรินทร์ ในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ เลื่อนขึ้นเป็น กรมพระเทเวศร์วัชรินทร์ ได้ทรงกำกับกรมช่างทองมาแต่ในรัชกาลที่ ๓ ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ ทรงได้กำกับศาลฎีกา สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๐ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๑๙ พระชันษา ๗๓ ปี เป็นต้นราชสกุล วัชรีวงศ์

Prince Krom Phra Thewetwatcharin (Phra Ong Chao Klang)
The 44th son of King Lertlanaphalai (King Rama II) and Chao Chom Manda Noiranad on February 15, 1805. Later King Nangklao gave him the title of Krom Luang Thewetwatcharin and later the title of Krom Phra Thewetwatcharin by King Chulalongkorn. He supervised the Goldsmith Department since the 3rd reign and the Supreme Court in the reign of King Chulalongkorn. The origin of Watchariwong surname, he died at the age of 73 on February 20, 1876.
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ายุคันธร กรมหมื่นอนันตการฤทธิ์
พระโอรสในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ กรมพระราชวังบวรสถานมงคลในรัชกาลที่ ๒ กับเจ้าจอมมารดาน้อยเล็ก ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๕๕ ได้ทรงกำกับกรมทหารช่างเมืองญวน ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับแต่งตั้งเป็นสภาที่ปรึกษาในพระองค์ หรือ ปรีวีเคาน์ซิล มีหน้าที่ถวายคำปรึกษาส่วนพระองค์ สืบสวนข้อเท็จจริงในราชการต่างๆ เพื่อกราบบังคมทูลและถวายความเห็นให้ทรงทราบ สอดส่องเหตุการณ์สำคัญในบ้านเมือง รวมไปถึงการชำระความฎีกาที่มีผู้นำมาถวาย สิ้นพระชนม์ เมื่อวันที่ ๓๑ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๒๓ พระชันษา ๖๙ ปี เป็นต้นราชสกุล ยุคันธร

Prince Yukhanthorn Krom Muen Anandakarnrit.
Born on November 29, 1812, a son of Somdet Phra Bovornratchao Maha Senanurak Krom Phra Rajawangbovorn Sathanmongkhon in the 2nd reign and Chao Chom Manda Noilek, overseeing the Vietnamese Military Technicians Department in the 4th reign. A member of the Privy Council in the 5th reign in charge of offering advice to the king, investigating official affairs and providing comments, looking after the state important incidents as well as dealing with petitions to the king. The origin of Yukhanthorn Na Ayutthaya surname, he passed away on July 31, 1880 at 69 years of age.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าปราโมช กรมขุนวรจักรธรานุภาพ
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาอัมพา ประสูติเมื่อวันที่ ๑๑ มีนาคม พุทธศักราช ๒๓๕๙ ทรงกำกับราชการ กรมพระนครบาล กรมหมอ กรมช่างเคลือบ ช่างหุงกระจก กรมญวนหก และกรมท่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นวรจักรธรานุภาพ ต่อมาเลื่อนเป็นกรมขุนวรจักรธรานุภาพ เป็นต้นราชสกุลปราโมช
ภาพนี้เป็นภาพฟิล์มกระจกที่ถ่ายสำเนาจากภาพต้นฉบับซึ่งเป็นภาพถ่ายบนแผ่นเงินที่เรียกว่า Daguerrotype (ดาร์แกร์โรไทป์) โดยภาพต้นฉบับอาจถ่ายขึ้นตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ ๓

Prince Krom Khun Worachak Tharanuphab, the origin of Pramoj surname.
Born on March 11, 1816, a son of King Lertlanaphalai (King Rama II) and Chao Chom Manda Ampha, the Prince’s responsibility included Metropolitan Department, Doctors Department, Glaze and Glaziers Department, Acrobats Department and Port Department. King Mongkut bestowed upon him the title of Krom Muen Worachak Tharanuphab, the Prince Brother and later the title of Krom Khun Worachak Tharanuphab.
This is a reproduction of the original print on silver plate called Daguerreotype, perhaps taken in the 3rd reign.
พระยาราชพงษานุรักษ์ (ชม บุนนาค)
เกิดเมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๑ ในสมัยรัชกาลที่ ๓ เป็นบุตรพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) กับคุณหญิงเป้า ธิดาสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิไชยญาติ (ทัต) เข้ารับราชการในรัชกาลที่ ๕ เป็นหลวงโกษานุการสวัสดิ์ ในกรมท่า แล้วเป็นพระยาราชพงษานุรักษ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดสมุทรสงคราม ถึงอนิจกรรมเมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๗ สิริอายุ ๔๖ ปี

Chom Bunnag.
Born in the 3rd reign in 1848, he was a son of Phraya Montrisuriyawong (Chum Bunnag) and Khunying Pao, a daughter of Chao Phraya Borom Maha Phichaiyat (Tat Bunnag). He joined official service in the 5th reign in the Port Department and then appointed to be Phraya Rajaphongsanurak, governor of Samut Sakhon Province, died in 1894, aged 46.
ภาพหมู่บุคคลในสกุลบุนนาค
ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) เมื่อคราวตามเสด็จพระราชดำเนินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวไปทอดพระเนตรเหตุการณ์สุริยุปราคา ที่ตำบลหว้ากอ เมืองประจวบคีรีขันธ์ พุทธศักราช ๒๔๑๑

Group photo of Bunnag family
Taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani) in a trip of King Mongkut observing the solar eclipse at Wako Sub-district in 1868.
พระองค์เจ้าชายยอดยิ่งยศ บวรราโชรสรัตนราชกุมาร กรมพระราชวังบวรวิชัยชาญ
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าคุณจอมมารดาเอม ประสูติเมื่อวัน ที่ ๖ กันยายน พุทธศักราช ๒๓๘๑ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงสถาปนาเป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ กรมหมื่นบวรวิไชยชาญ ทรงบังคับบัญชากรมทหารเรือฝ่ายพระราชวังบวร ทรงซ่อมแซมป้อมผีเสื้อสมุทร ทรงสร้างพระที่นั่งสาโรชรัตนประพาส ในพระบรมมหาราชวัง และทรงซ่อมแซมวัดที่ชำรุดหลายแห่ง เช่น วัดราชผาติการาม วัดดาวดึงสาราม วัดชนะสงคราม และวัดหงส์รัตนาราม ในรัชกาลที่ ๕ ได้รับพระราชทานอุปราชาภิเษกเป็นกรมพระราชวังบวรสถานมงคล และทิวงคตในรัชกาลที่ ๕ พระชันษา ๔๘ ปี

Prince Yodyingyot Bowornrachorot Ratanarajakuman (Krom Phrarajawang Boworn Wichaichan)
Born on September 6, 1838, he was a son of King Pinklao and Chao Chom Manda Em. He was given the title of Krom Muen Bowornwichaichan by King Mongkut. Under his command was the Phra Boworn Rajawang’s Naval Department, restoration of Phisuesamut Fort, construction of Phra Thinang Sarojratanapraphat in the Grand Palace and renovations of Wat Rajaphatikaram, Wat Daodungsaram, Wat Chanasongkhram and Wat Hongratanaram. King Chulalongkorn promoted him as Krom Phrarajawang Boworn Sathanmongkhon. He died at the age of 48 in the 5th reign.
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงฉายเมื่อคราวพระราชทานธรรมเทศนาให้ข้าราชสำนักฝ่ายในฟังในวันวิสาขบูชา ทรงเครื่องทรงศีล ภูษาโจงสีแดง มีผ้าขาวทับทรงสะพัก ทรงฉายเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๐

King Mongkut
Taken in 1867 when preaching a Dhamma surmmon to the Inner Court Department on Visakha Puja Day, in religious attire, red loincloth with breast cloth over.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ (สมเด็จเจ้าฟ้ากลาง)
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากุณฑลทิพยวดี ประสูติเมื่อวันที่ ๒๔ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๖๒ ในรัชกาลที่ ๓ รับราชการในกรมวัง ในรัชกาลที่ ๔ ได้รับพระราชทานนามว่า เจ้าฟ้ามหามาลา และทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมหมื่นปราบปรปักษ์ และเลื่อนเป็นกรมขุนบำราบปรปักษ์ ได้ว่าการกรมวัง กรมพระคชบาล และกรมสังฆการีธรรมการ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงได้รับสถาปนาเป็นกรมพระยาบำราบปรปักษ์ ที่ประชุมพระบรมวงศานุวงศ์และขุนนางผู้ใหญ่ พร้อมกันแต่งตั้งให้เป็นผู้สำเร็จราชการในพระราชสำนัก และว่าพระคลังทั้งปวง ต่อมาได้เป็นผู้สำเร็จราชการกรมมหาดไทย สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๒๙ พระชันษา ๖๗ ปี เป็นต้นราชสกุล มาลากุล

Prince Mahamala Krom Phraya Bamrab Porapak (Somdet Chao Fa Klang)
The 65th son of King Letlanaphalai and Princess Kunthon Thipphayawadi, he was born on Saturday, April 24, 1819 and served in the Court Department in the 3rd reign. He was given the title of Chao Fa Mahamala by King Mongkut, then Krom Muen Prab Porapak, and later Krom Khun Bamrab Porapak, in charge of the Court Department, Elephants Department and Religion and Education Department. King Chulalongkorn promoted him to be Krom Phraya Bamrab Porapak. As agreed upon in the meeting of the royal members and nobilities, he was appointed to be the court regent and overseeing the financial affairs. Later days, he became the regent for the Interior Department. Origin of Mlakul surname, he died at aged 67 on Wednesday, September 1, 1886.
เจ้าอุปราชบุญทวงศ์
เจ้าอุปราชนครเชียงใหม่ในรัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์ที่ ๗ เป็นโอรสในพระยาราชวงศ์ (มหาพรหมคำคง) กับแม่เจ้าคำหล้า และมีศักดิ์เป็นหลานของพระยาคำฟั่น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ ๓ ถึงแก่อนิจกรรมในพุทธศักราช ๒๔๒๕
ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๖

Chao Uparat Bunthawong
Prince of Chiangmai in the reign of King Inthawitchayanon, the 7th king of Chiangmai, a son of Phraya Rajawong (Maha Phromkhamkhong) and Mae Chao Khamla. He was a nephew of Phraya Khamfan, the 3rd ruler of Chiangmai and died in 1882.
The image was taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani) in the 4th reign in 1863.
ชายชาวเหนือ
แต่งกายแบบคนสามัญชาวเหนือ ถ่ายโดยหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) หรือนายจิตร หรือ ฟรานซิส จิตร ดังมีหลักฐานลายเซ็นเป็นตัวอักษร F.Chit จารลงบนแผ่นฟิล์มกระจก สันนิษฐานว่าชายคนนี้อยู่ในคณะผู้ติดตามเจ้านครเชียงใหม่ที่เดินทางมากรุงเทพฯ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ เมื่อพุทธศักราช ๒๔๐๖

A northern man.
In common northern outfit, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani) or Nai Chit or Francis Chit with his signature on the glass plate. Understood that this man was one of the entourage of Chiangmai ruler on a visit to Bangkok in the reign of King Mongkut in 1863.
หญิงไม่ทราบนาม
แต่งกายใส่เสื้อแขนยาว ห่มผ้าสไบ นุ่งผ้าโจงกระเบน นั่งบนเก้าอี้

Unidentified woman
Sitting on chair in long sleeved blouse, and breast cloth.
หญิงไม่ทราบนาม
ไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ห่มผ้าสไบ นุ่งผ้าโจงกระเบน นั่งเก้าอี้

Unidentified woman
Sitting on chair, wearing Dok Krathum hair style, loincloth and breast cloth.
หญิงไม่ทราบนาม
สันนิษฐานว่าเป็นพระราชชายาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่องจากเมื่อเทียบเคียงกับพระฉายาลักษณ์ของสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี มีความใกล้เคียงกัน เชื่อว่าน่าจะถ่ายในคราวเดียวกัน

Unidentified woman
Presumably a royal consort of King Mongkut. Comparing to the image of Queen Thepsirindra, it looks relatively similar. It is believed the image was taken at the same time.
ชายไม่ทราบนาม
แต่งกายไว้ผมทรงหลักแจวหรือมหาดไทย ใส่เสื้อแขนยาว นุ่งผ้าโจงกระเบน มีผ้าคาดเอว นั่งเก้าอี้

Unidentified woman
Sitting on chair, wearing Lak Chaew or Mahad Thai hair style, long sleeved shirt, loincloth and waist band.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าลม่อม กรมพระสุดารัตนราชประยูร
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาทรัพย์ พระสนมเอก ประสูติเมื่อวันที่ ๘ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๓๖๑ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๗ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๓๙ สิริพระชนมายุได้ ๗๗ พรรษา เป็นพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกับสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ซึ่งเป็นพระบิดาในสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูรจึงทรงมีศักดิ์เป็นพระปิตุจฉา (อาหญิง) ของสมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงพระอิสริยยศเป็น สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ มีพระชนมายุได้ ๘ พรรษา สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี เสด็จสวรรคต สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูรทรงเลี้ยงดูพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วยพระขนิษฐาและพระอนุชาทุกพระองค์ จึงทรงเคารพและยกย่องเสมอพระราชชนนี ทรงออกพระนามว่า เสด็จยาย และโปรดให้พระราชโอรสพระธิดาออกพระนามว่า ทูลหม่อมย่า ทรงสถาปนาพระองค์เจ้าละม่อมเป็น พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ กรมพระสุดารัตนราชประยูร

เมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๑ และทรงเลื่อนเป็นพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ในวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๑๖ ทรงเป็นผู้สำเร็จราชการในพระบรมมหาราชวังฝ่ายใน ชาววังออกพระนามพระองค์ว่า ทูลกระหม่อมแก้ว

Princess Krom Phra Sudarat Ratprayun (Phra Ong Chao Lamom)
A daughter of King Nangklao and Chao Chom Manda Sap, she was born on Tuesday, December 8, 1818 and died on Monday, August 17, 1896 at aged 77. She was a younger sister, sharing the same mother of Somdet Phra Borommarajamata Mahaiyaka Thoe Phra Ong Chao Siriwong Kromma Meun Mataya Phithak who was Queen Thepsirindra’s father, making Phra Ong Chao Lamom, aunt of Queen Thepsirindra. The death of Queen Thepsirindra on September 9, 1861 had turned the 8-year old Prince Chulalongkorn to be brought up by Phra Ong Chao Lamom together with all of his brothers and sisters. She was highly revered by King Chulalongkorn as if his mother, calling her “Somdet Yai” (the Princess Grandmother) and had his children called her “Thun Mom Ya” (Grandmother). King Chulalongkorn bestowed upon her the title Krom Phra Sudarat Ratprayun in 1868 and then on January 1, 1873, the title Phra Chao Borom Mahaiyikathoe
Krom Somdet Phra Sudarat Ratprayun due to her raising King Chulalongkorn since childhood. Besides, she was assigned to be the regent for the Inner Court and commonly called “Thun Kramon Kaew” by the court dwellers.
สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี
พระนามเดิม หม่อมเจ้ารำเพย เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๑๗ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๓๗๗ เป็นพระธิดาในสมเด็จพระบรมราชมาตามหัยกาเธอ พระองค์เจ้าศิริวงศ์ กรมหมื่นมาตยาพิทักษ์ ต้นราชสกุลศิริวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว กับเจ้าจอมมารดาทรัพย์ ส่วนพระมารดาคือหม่อมน้อย หม่อมเจ้ารำเพย ทรงเป็นพระมเหสีของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๖ ตั้งแต่พระชนมายุได้ ๑๘ พรรษา ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ อันมีความหมายว่า "บุปผชาติที่เป็นที่ยินดีและเป็นที่พักพิงของมวลหมู่ภมร" ต่อมาดำรงพระอิสริยยศเป็น พระนางเธอ พระองค์เจ้ารำเพยภมราภิรมย์ เมื่อพุทธศักราช ๒๓๙๕ เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๙ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๐๔ สิริพระชนมายุได้ ๒๘ พรรษา ต่อมาวันที่ ๒๕ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๑๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสถาปนาเลื่อนพระนามพระอัฐิสมเด็จพระราชชนนีขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระเทพศิรินทรามาตย์ และในรัชกาลที่ ๖ ทรงสถาปนาพระบรมอัฐิเป็น สมเด็จพระเทพศิรินทรา บรมราชินี

Queen Thepsirindra
Original name M.C.Ramphoei, born on Thursday, July 17, 1834, the second daughter of Somdet Phra Borommarajamata Mahaiyaka Thoe Phra Ong Chao Siriwong Kromma Meun Mataya Phithak, the origin of Siriwong surname, a son of King Nangklao and Chao Chom Manda Sap. Her mother was Mom Noi. M.C.Ramphoei Siriwong served as a royal consort of King Mongkut when she was 18 years old. King Mongkut bestowed upon her the title of Phra Ong Chao Ramphoei Phamaraphirom meaning”pleasant flowers for bees’ rest”. In 1854, she was elevated to the royal title of Phra Nang Thoe Phra Ong Chao Ramphoei Phamaraphirom and passed away on Monday, September 9, 1861, aged 28. Later, on December 25, 1868 King Chulalongkorn uplifted the relic’s name of his mother to be Krom Somdet Phra Thepsirindramat. In the reign of King Vajiravudh, renamed her relic as Queen Thepsirindra.
ภาพหมู่หญิง ไม่ทราบนาม
แต่งกายไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้าโจงกระเบน นั่งพับเพียบ

Group photo of unidentified women
Wearing Dok Krathum hair style, loincloth, breast cloth, sitting with legs folded back to their side.
หญิงไม่ทราบนาม
แต่งกายไว้ผมทรงดอกกระทุ่ม ใส่เสื้อแขนยาว ห่มผ้าสไบเฉียง นุ่งผ้าซิ่น

Unidentified women
Standing, wearing Dok Krathum hair style, long sleeved shirt, Sarong, and breast cloth.
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช
พระนามเดิม หม่อมเจ้าบงกช นพวงศ์ เป็นพระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส ต้นราชสกุล นพวงศ์ ประสูติเมื่อพุทธศักราช ๒๓๘๔ เมื่อประสูติในรัชกาลที่ ๓ ทรงดำรงราชสกุลยศเป็นหม่อมราชวงศ์ ในสมัยรัชกาลที่ ๔ โปรดเกล้าฯ เลื่อนอิสริยยศ เป็นหม่อมเจ้าและในรัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบงกช เมื่อพุทธศักราช ๒๔๓๘ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๕๖ สิริพระชันษา ๗๒ ปี

Prince Phra Ong Chao Bongkot
(Personal name M.C.Bongkot Noppawong), born in 1841, a son of Prince Noppawong, Krom Muen Mahesuan Siwawilat and a grandson of King Mongkut. In 1895, King Chulalongkorn bestowed him upon the title of Phra Worawong Thoe Phra Ong Chao Bongkot. He died in the 6th reign on Tuesday, February 15, 1913.
หม่อมยิ่ง
พระนามเดิมพระองค์เจ้ายิ่งเยาวลักษณ์ อรรคราชสุดา พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแพ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๓๙๔ ทรงสะพักตาดระกำไหม พระภูษายกทอง บนโต๊ะตั้งเครื่องราชอิสริยยศ มีพานหมากเสวยทองคำลงยา พร้อมเครื่องในทองคำลงยา กาพระสุธารสทองคำพร้อมถาดรอง บ้วนพระโอษฐ์ทองลงยา หีบหมากทองคำลงยา

Mom Ying
Original name: Phra Ong Chao Ying Yaowalak Akkrarajasuda She was born on Wednesday, January 21, 1851, a daughter of King Mongkut and Chao Chom Manda Phae. She is in traditional Thai costume. On the table is a set of the royal regalia, the enameled golden royal utensils, the enameled golden tea kettle and tray, the enameled golden spittoon and the enameled golden betel nut set.
พระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภัควดี
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาพลอย ประสูติเมื่อวันที่ ๑ เมษายน พุทธศักราช ๒๓๙๘ ทรงเครื่องต้นในพระราชพิธีโสกันต์ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๓ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๘๓ สิริพระชันษา ๘๕ ปี

Princess Phakkawadi
A daughter of King Pinklao and Chao Chom Manda Phloi, born on April 1, 1855 and died on September 3, 1940, aged 85. She is in traditional attire for the topknot cutting ceremony.
เด็กหญิงไม่ทราบนาม
ไว้ผมเกล้าจุก ใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งผ้าโจงกระเบน ยืนเอามือวางบนขอบโต๊ะ

Unidentified girl
Wearing topknot, coat sleeved blouse, loincloth, standing with hand on the table edge.
ภาพหมู่ชายสามคน
แต่งกายใส่สูทเสื้อนอกนุ่งผ้าม่วง นั่งบนเก้าอี้

Group photo of 3 men
Wearing jacket and Phamuang (silk loincloth) sitting on chairs.
หม่อมเจ้าหญิงเม้า ทองแถม (ราชสกุลเดิม รองทรง)
พระธิดาในพระเจ้าราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารองทรง กรมหมื่นสิทธิสุขุมการ กับหม่อมรอด และเป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๐๑ สิ้นชีพตักษัย เมื่อวันที่ ๒๔ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๘

M.C. Mao Thongtham
(Original surname: Rongsong) A daughter of Prince Rongsong Krom Muen Sithisukhumkan and Mom Rod. A consort of Prince Thongthaem Thavalyawongse Krom Luang Saphasatsuphakit, born on September 30, 1858 and died on October 24, 1935.
สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า
พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าสว่างวัฒนา เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าคุณจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันที่ ๑๐ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๐๕ เมื่อเจริญพระชันษาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระภรรยาเจ้า ทรงสถาปนาขึ้นเป็น พระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี มีพระราชโอรสธิดารวม ๘ พระองค์ ในฐานะพระราชมารดาของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าพระองค์แรก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระราชเทวี ต่อมาทรงสถาปนาเป็น สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๖ ทรงดำรงพระฐานันดรศักดิ์เป็น สมเด็จพระมาตุจฉาเจ้าสว่างวัฒนา พระบรมราชเทวี ในรัชกาลที่ ๗ ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสามาตุจฉาเจ้า ต่อมาในรัชกาลที่ ๘ ทรงสถาปนาขึ้นเป็น สมเด็จพระศรีสวรินทิรา บรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า

สมเด็จพระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ทรงเป็นพระราชมารดาของสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหิดลอดุลเดช หรือสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก สมเด็จพระบรมชนกนาถในรัชกาลที่ ๘ และรัชกาลที่ ๙
เสด็จสวรรคตเมื่อวันที่ ๑๗ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๙๘ ณ วังสระปทุม สิริพระชนมายุ ๙๓ พรรษา

Queen Sri Savarindra, the Queen Grandmother
Original name: Princess Savang Vadhana, born on September 10, 1862, a daughter of King Mongkut and Somdet Phra Piyamavadi Sri Bajarindra Mata (Chao Khun Chom Manda Piam).

She became a princess consort of King Chulalongkorn and the mother of 8 children. As the mother of the first son, she was elevated to the title of Somdet Phra Nang Chao Savang Vadhana, Phra Rajadevi and shortly Somdet Phra Nang Chao Savang Vadhana Phra Borom Rajadevi. In the reign of King Prajadhipok, he bestowed upon her the title of Somdet Phra Nang Chao Savang Vadhana Phra Borom Rajadevi, the Queen Aunt. Later King Ananda Mahidol gave her the title of Somdet Phra Sri Savarindra, Borom Rajadevi, the Queen Grandmother.
She died at Wang Sraprathum Palace on December 17, 1955, aged 93.
พลเอก สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารังสิตประยุรศักดิ์ กรมพระยาชัยนาทนเรนทร
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดา หม่อมราชวงศ์เนื่อง สกุลเดิม สนิทวงศ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๔๒๘ เป็นต้นราชสกุล รังสิต ในรัชกาลที่ ๙ ทรงเป็นประธานคณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ และเป็นประธานองคมนตรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมพระยาชัยนาทนเรนทร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๗ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๙๔ สิริพระชนมายุ ๖๖ ปี ๔ เดือน

ภาพนี้ฉายเมื่อต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงฉลองพระองค์เยียรบับเต็มยศราชตระกูล ประดับด้วยเหรียญตราที่ระลึกต่างๆ และทรงสายสังวาลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าทับด้วยฉลองพระองค์ครุยพระราชวงศ์

General somdet Phra Chao Boromwongthoe Phra Ong Chao Rangsit Prayurasakdi, Prince of Chai Nat,
original name was Phra Ong Chao Rangsit Prayurasakdi and the origin of Rangsit surnam. Born on November 12, 1885, a son of King Chulalongkorn and Chao Chom Manda M.R Nuang Sanitwong

He died on March 7, 1951 at 66 years and 4 months of age. This image taken in the reign of King Vajiravudh with medals, breast chain, and Pathom Chulachomklao Decoration with royal gown.
พระราชครูวามเทพมุนี หว่าง รังสิพราหมณกุล
เป็นพระราชครูที่ได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกถวายพระบาทสมเด็จพระปกกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อพุทธศักราช ๒๔๖๘

Phra Rajaguru Vamadeva Muni
Royal Court Chief Brahmin, Department of Royal Ceremony, Ministry of Court Affairs. He take responsibility in King Prajadhipok’s coronation ceremony in 1925
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ กับพระธิดา หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร
เป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดากลิ่น พระสนมเอก ประสูติเมื่อวันที่ ๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๓๙๘ ทรงรับหน้าที่จัดการสร้างพระที่นั่งและพระราชวังบางปะอิน เป็นราชทูตสยามประจำประเทศอังกฤษและสหรัฐอเมริกา เสนาบดีกระทรวงนครบาล กระทรวงโยธาธิการ และกระทรวงมุรธาธร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๖๘ สิริพระชันษาได้ ๗๐ ปี เป็นต้นราชสกุล กฤดากร

หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร เป็นพระธิดาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศรวรฤทธิ์กับหม่อมเจิม กฤดากร ณ อยุธยา ประสูติเมื่อวันที่ ๓๐ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๔๖ ได้เสกสมรสกับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระเชษฐาต่างมารดา ถึงชีพิตักษัยวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๒๔ สิริชันษา ๗๘ ปี

Phra Chao Boromwongthoe Phra Ong Chao Krisdaphinihan, Prince Naresworarit,
taken with M.C.Phachongchit Krisdakorn, his daughter. Born on May 7, 1855, the 17th son of King Mongkut and Chao Chom Manda Klin and died on August 10, 1925, aged 70, the origin of Krisdakorn surname.

Born on April 30, 1903, M.C.Phachongchit Krisdakorn, a daughter of Prince Naresworarit and Mom Cherm Krisdakorn Na Ayutthaya. She married Prince Woradet, a half-brother and died on November 22, 1981, aged 78.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุบรรณ กรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาขำ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นภูวนัยนฤเบนทราภิบาล ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นกรมขุนภูวนัยนฤเบนทราธิบาล ทรงกำกับช่างสร้างพระพุทธรัตนสถาน พระพุทธมณเฑียร และซ่อมวัดพระศรีรัตนศาสดาราม สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๘ สิริพระชันษา ๕๙ ปี เป็นต้นราชสกุล สุบรรณ

Phra Chao Boromwongthoe, Prince Suban, Krom Khun Phuwanai Naruebenthrathiban.
Born on October 17, 1826, the 46th son of King Nangklao and Cham Chom Manda Kham and King Mongkut bestowed on him the tile of Krom Muen Phuwanai Naruebenthrathiban. Later he was given title of Krom Khun Phuwanai Naruebenthrathiban by King Chulalongkorn. He died on Monday, January 12, 1885, aged 59, the origin of Suban Na Ayutthaya surname.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชมพูนุท กรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสัมฤทธิ์ ประสูติเมื่อวันที่ ๒๘ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๓๗๐ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นเจริญผลพูลสวัสดิ์ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนเป็นกรมขุนเจริญผลพูลสวัสดิ์ ทรงกำกับการสร้างวัดเทพศิรินทราวาส และซ่อมวัดราชโอรสาราม สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๓๕ พระชันษา ๖๗ ปี เป็นต้นราชสกุล ชมพูนุท

Phra Chao Boromwongthoe Phra Ong Chao Chompoonut, Krom Khun Charoenphon Phunsawat.
Born on August 28, 1827, the 49th son of King Nangklao and Cham Chom Manda Samrit, and King Mongkut bestowed upon him the title of Krom Muen Charoenphon Phunsawat Later he was given title of Krom Khun Charoenphon Phunsawat by King Chulalongkorn. He died on April 2, 1892, aged 67 and the origin of Chompoonut surname.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอมฤตย์ กรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาแก้ว ประสูติเมื่อวันที่ ๕ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๓๖๙ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นกรมหมื่นภูบดีราชหฤทัย ทรงกำกับการกรมอักษรพิมพการและกรมหมอนวด หมอยาสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๑๓

Phra Boromwongthoe Phra Ong Chao Amarit, Krom Muen Phubordi Rajaharuethai.
Born on August 5, 1826, the 45th son of King Nangklao and Chao Chom Manda Kaeo and King Mongkut bestowed upon him the title of Krom Muen Phubordi Rajaharuethai. He died on March 6, 1870.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๐๐ ในรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ในรัชกาลที่ ๖ ทรงเลื่อนเป็น กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พุทธศักราช ๒๔๕๕ ทรงบังคับการกรมช่างมหาดเล็ก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๖ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๖๒ พระชนมายุได้ ๖๒ ปี เป็นต้นราชสกุล ทองแถม
ในภาพทรงอุ้มเด็กชาย ไม่ทราบนาม

Phra Chao Boromwongthoe Phra Ong Chao Thongthaem Thavalyawongse, Krom Luang Saphasat Suphakit.
Born on October 17, 1857, a son of King Mongkut and Chao Chom Manda Sangwan and King Chulalongkorn bestowed upon him the title of Krom Muen Saphasat Suphakit. Later in 1912, King Vajiravudh, gave him the title of Phra Chao Boromwongthoe Krom Luang Saphasat Suphakit. He died on April 16, 1919, aged 62, taken while holding an unidentified boy.
จุฬาลงฺกรโณ ภิกขุ
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะที่ทรงพระผนวชเป็นพระภิกษุ เมื่อวันที่ ๑๕ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๑๖ ณ พระพุทธรัตนสถาน ในพระบรมมหาราชวัง จากนั้น เสด็จออกไปประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนิเวศวิหาร มีพระราชฉายา จุฬาลงฺกรโณ ภิกขุ ทรงลาพระผนวช เมื่อวันที่ ๑๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๖ แล้วทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกอีกเป็นครั้งที่ ๒

Chulalongkorano Bhikkhu.
King Chulalongkorn in monkhood. Ordained on September 15, 1873 at the Temple of Emerald Buddha, the Grand Palace, he resided at Phra Tamnak Panya, Wat Bovornnivesvihan and left monkhood on October 11, 1873. Shortly, his second coronation ceremony was organized.
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทรงฉลองพระองค์อย่างตะวันตก สันนิษฐานว่าฉายไว้ในช่วงต้นรัชกาล

King Chulalongkorn
in western attire, probably taken early his reign.
ข้าหลวงในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

Court lady officials under the Royal Consort, Phra Vimadathoe Phra Ong Chao Saisavali Bhiromya Krom Phra Suddhasininat.
คนัง กิราตกะ
เกิดปีใดไม่ปรากฏชัด ในครอบครัวเงาะป่าในจังหวัดพัทลุง บิดาชื่อดำขาว มารดาชื่อนางควาก มีพี่น้องคือ งอด แค ดิน และคนังเป็นคนสุดท้อง ต่อมาบิดาและมารดาถึงแก่กรรม บุตรทั้งหมดรวมทั้งคนังจึงกำพร้า คนังได้รับการชุบเลี้ยงจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้อยู่ในพระบรมมหาราชวังเพื่อถวายตัวเป็นมหาดเล็ก และทรงพระกรุณาให้พระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดาทรงรับเลี้ยง เป็นแรงบันดาลใจให้พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์บทละครเรื่อง เงาะป่า  โดยให้ "คนัง" เป็นตัวเอกของเรื่อง ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก็ทรงรับคนังไว้ในราชการเป็น พลเสือป่า กรมเสือป่าพรานหลวงรักษาพระองค์ และประจำกรมพิณพาทย์หลวง และพระราชทานนามสกุลให้ด้วยว่า กิราตกะ
ภาพนี้ คนังแต่งกายเป็นเจ้าเงาะ ในละครเรื่องสังข์ทอง

Khanang Kirataka.
Unknown year of birth, Ngor or Sakai boy from Phathalung, the youngest son of Damkhao (father) and Khwak (mother) who died later years. Kindly adopted as a courtier in the Grand Palace by King Chulalongkorn, under care of the Royal Princess Consort, Princess Saisavali Bhiromya, the orphan Sakai boy inspired King Chalalongkorn to write a play entitled “Ngo Paa” with Khanang, the main character. In King Vajiravudh’s reign, Khanang served as a private in the “Wild Tiger Corps” and the Royal Thai Traditional Band. His lastname Kirataka was givent by King Vajiravudh. The image is Khanang, acting in Chao Ngo character in Sang Thong, a folk play.
เด็กหญิงไม่ทราบนาม
ข้าหลวงในพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา

Unidentified girl.
A court girl of the Princess Consort, Princess Saisavali Bhiromya Krom Phra Suddhasininat
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอรประพันธ์รำไพ (ขวา)
พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าอดิสัยสุริยาภา (ซ้าย)
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาอ่อน

Princess Oraprabandh Rambai (right),
Princess Adisaya Suriyabha (left),
daughters of King Chulalongkorn and Chao Chom Manda On.
นายเซซาเร แฟร์โร และพระสรลักษณ์ลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์)
วาดพระบรมสาทิสลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
นายเซซาเร แฟร์โร จิตรกรชาวอิตาลี ที่เข้ามาทำงานในราชสำนักสยาม กำลังวาดพระบรมสาทิสลักษณ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่หน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต ในพระราชวังดุสิต เมื่อวันที่ ๑๗ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๔๙ โดยมีพระสรลักษณ์ลิขิต (มุ่ย จันทรลักษณ์) ตั้งกรอบผ้าใบวาดอยู่ด้านหลัง มีพระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า และข้าราชบริพารเฝ้าสังเกตการณ์ที่บันได

Cesare Ferro,
Italian artist served in the royal Thai court is painting King Chulalongkorn’s portrait in front of Phra Thiang Aphisekdurit, Dusit Palace on May 17, 1906. Setting a canvas for painting at the back is Phra Soralaklikhit (Mui Chanthralak) while some royal members and courtiers observing at the steps.
เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ (เจ้าคุณจอมมารดาแพ ในรัชกาลที่ ๕)
ธิดาของเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) กับท่านผู้หญิงอิ่ม เกิดเมื่อวันที่ ๕ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๓๙๗ เป็นพระสนมเอกในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระเจ้าลูกเธอ ๓ พระองค์ คือ
พระองค์เจ้าศรีวิไลยลักษณ สุนทรศักดิกัลยาวดี กรมขุนสุพรรณภาควดี
พระองค์เจ้าสุวพักตรวิไลพรรณ
พระองค์เจ้าบัณฑรวรรณวโรภาส
เจ้าคุณพระประยูรวงศ์ ถึงพิราลัย ขณะอายุได้ ๘๙ ปีเศษ เมื่อวันที่ ๒๒ มีนาคม พุทธศักราช ๒๔๘๖

Chao Khun Phra Prayoon Wong (Chao Chom Manda Phae to the 5th reign)
A daughter of Chao Phraya Surawongwaiwat (Worn Bunnag) and Thanphuying Im, she was born on November 5, 1854 and served as a royal consort of King Chulalongkorn and had 3 daughters namely 1) Prince Srivilailaksana, Princess of Suphanburi, 2) Princes Suvabaktra Vilayabanna, and 3) Princess Bandhavanna Varobhas.
Chao Khun Phra Prayoon Wong died on March 22, 1943, aged 89.
เด็กหญิงอุ้มลูกขนุน
ภาพถ่ายฝีพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

A girl holding jackfruit,
taken by King Chulalongkorn.
เจ้าจอมแส
บุตรีของเจ้าพระยาสุรพันธ์พิสุทธิ์ (เทศ บุนนาค) กับหม่อมทรัพย์ ชาวลาวโซ่ง บ้านท่าโล้ เมืองเพชรบุรี เกิดเมื่อวันที่ ๑๕ กุมภาพันธุ์ พุทธศักราช ๒๔๓๕ ต่อมาได้เป็นเจ้าจอมในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ถึงอนิจกรรมเมื่อวันที่ ๗ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๕๒๑

Chao Chom Sae.
Born on February 15, 1892, a daughter of Chao Phraya Suraphanphisut (Thet Bunnag) and Mom Sab, Lao Song tribe from Ban Thalo, Phetchburi and became a royal consort of King Chulalongkorn. She died on October 7, 1978.
พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี (แช่ม)
เป็นชาวบ้านวัดฉลอง จังหวัดภูเก็ต เดิมเป็นลูกศิษย์พระอยู่ในวัดฉลองมาตั้งแต่ยังเด็ก ครั้นเติบใหญ่บวชเป็นสามเณรเล่าเรียนอยู่ในวัดนั้น จนอายุครบอุปสมบทก็บวชเป็นพระภิกษุเรียนวิปัสสนาธุระและคาถาอาคมต่าง ๆ ต่อมา จนมีพรรษามากจึงได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเจ้าอาวาสวัดฉลองสืบมา
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดแต่งตั้งให้หลวงพ่อแช่มเป็นพระครูสังฆปาโมกข์เมืองภูเก็ต สมณศักดิ์ที่ "พระครูวิสุทธิวงศาจารย์ญาณมุนี" มรณภาพ เมื่อวันที่ ๑๘ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๑

Phra Khru Wisutthiwongsayanmuni (Cham)
A native of Wat Chalong, Phuket, living in Wat Chalong since he was young, he was ordained a novice and studied in the temple until the age of monk, he again ordained as a monk and studied dhamma and incantation. He later served as the abbot of Wat Chalong. King Chulalongkorn bestowed upon him the title of Phra Khru Sangkhapamok at Phuket and held the title of Phra Khru Wisutthiwongsayanmuni till his death on April 18, 1908.
หม่อมเจ้าพูนพิศมัย ดิศกุล
พระธิดาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ กับหม่อมเฉื่อย ประสูติเมื่อวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พุทธศักราช ๒๔๓๘ ถึงชีพิตักษัย เมื่อวันที่ ๑๑ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๓๓

M.C.Phunphitsamai Diskul
A daughter of Prince Damrongrajanubhab and Mom Chuai, she was born on February 17, 1895 and died on August 11, 1990.
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
เมื่อครั้งยังดำรงพระราชอิสริยยศเป็น สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงม้าพระที่นั่ง คราวเสด็จประพาสเมืองนครราชสีมา พุทธศักราช ๒๔๔๖

King Vjiravudh as the Crown Prince of Siam,
riding a horse while visiting Nakhon Ratchasima in 1903.
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธ์ กรมหมื่นไชยาศรีสุริโยภาส
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาโหมด ประสูติเมื่อวันที่ ๒๙ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๔๒๗ ทรงเป็นผู้ช่วยปลัดทูลฉลองกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ อธิบดีกรมสำรวจ อธิบดีกรมกระสาปน์สิทธิการ และผู้ตรวจการกรมศิลปากร สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ เป็นต้นราชสกุล สุริยง
ภาพนี้ ฉายขณะยังมีพระอิสริยยศเป็นพระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าสุริยงประยุรพันธุ์ ทรงฉลองพระองค์เยียรบับ คาดเข็มขัดเพชร และประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ

Phra Chao Boromwongthoe Phra Ong Chao Suriyong Prayurabandhu Kromma Muen Chaiyasi Suriyophat
Born on Tuesday July 29, 1884, a son of King Chulalongkorn and Chao Chom Manda Mod, he died on May 2, 1919, the origin of Suriyong surname. The image taken when he was Suriyong Prayurabandhu, wearing Zarbuft cloth, diamond belt and Chulachomklao decoration.
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้านิภานภดล วิมลประภาวดี กรมขุนอู่ทองเขตขัตติยนารี
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระวิมาดาเธอ พระองค์เจ้าสายสวลีภิรมย์ กรมพระสุทธาสินีนาฏ ปิยมหาราชปดิวรัดา ประสูติเมื่อวันที่ ๔ ธันวาคม พุทธศักราช ๒๔๒๙ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒๙ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๗๘
ภาพนี้ทรงฉายไว้ก่อนที่จะทรงประกอบพระราชพิธีโสกันต์ในพุทธศักราช ๒๔๔๑

Somdet Phra Chao Boromwong Thoe Chao Fa Nibha Nobhadol Vimolprabhavadi Krom Khun Uthong Khetkhatiyanari,
Born on Saturday, December 4, 1886, a daughter of King Chulalongkorn and the Princess Consort, Princess Saisavali Bhiromya Krom Phra Suddhasininat, and died on January 29, 1935, taken prior to the royal topknot-cutting ceremony in 1898.
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว กับสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ
จากซ้ายไปขวา สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าประชาธิปกศักดิเดชน์ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฑาธุชธราดิลก

Three sons of King Chulalongkorn and Queen Sri Bajarindra;
Prince Asdang Dejavudh (center), Prince Chudadhuj Dharadilok (right) and Prince Prajadhipok Sakdidej (left).
พลเอก พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาวาด ประสูติเมื่อวันที่ ๒๓ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๒๔ เป็นต้นราชสกุล ฉัตรชัย ทรงเป็นจเรการช่างทหารบก แม่ทัพกองทัพน้อยที่ ๑ ผู้บัญชาการกรมทัพหลวง เสนาบดีกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม และอภิรัฐมนตรี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๗๙ ที่ประเทศสิงคโปร์ พระชนมายุ ๕๕ ปี

ภาพนี้ฉายในรัชกาลที่ ๖ ทรงฉลองพระองค์เครื่องแบบนายทหารบกสีขาว ประดับเครื่องราชอิสริยาภรณ์และเหรียญตราที่ระลึกต่างๆ และทรงสายสังวาลเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้าทับด้วยฉลองพระองค์ครุยพระราชวงค์

General Phra Chao Boromwongthoe, Phra Ong Chao Purachatra Jayakara, Prince of Kamphaengphet.
Born on Monday January, 23 1881, a son of King Chulalongkorn and Chao Chom Manda Wad, he died on September 14, 1936, aged 55 in Singapore, the origin of Chatchai surname. Taken in the reign of King Vajiravudh, the Prince wearing the white army uniform with medals, breast chain, Chulachomklao decoration and the royal gown.
พระราชโอรสธิดาในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ
จากซ้ายไปขวา
๑. หม่อมเจ้าหญิงสรรพสมบูรณ์
๒ หม่อมเจ้าหญิงพัฒนายุ
๓. หม่อมเจ้าหญิงพิไลเลขา
๔. หม่อมเจ้าหญิงสิวลีวิลาศ
๕. หม่อมเจ้าดิศานุวัตร ดิศกุล
ฉายที่วังประตูสามยอด

Prince Damrongrajanubhab’s children.
From left to right.
1) M.C.Saphasombun,
2) M.C.Phathanayu,
3) M.C.Phailailekha,
4) M.C.Siwaliwilat and
5)M.C.Disanuwat Diskul,
taken at Pratu Samyod Palace.
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง
พระนามเดิม พระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี เป็นพระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระปิยมาวดี ศรีพัชรินทรมาตา (เจ้าจอมมารดาเปี่ยม) ประสูติเมื่อวันที่ ๑ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๐๗ ทรงได้รับสถาปนาเป็นพระนางเธอ พระองค์เจ้าเสาวภาผ่องศรี และพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระวรราชเทวี

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ ขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร จึงได้สถาปนาพระอิสริยยศของพระชนนีเป็นสมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอรรคราชเทวี และเมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรปในพุทธศักราช ๒๔๔๐ สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระอัครราชเทวี ทรงดำรงตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามาภิไธยเป็น สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติ ทรงสถาปนาพระราชอิสริยยศและเฉลิมพระนามาภิไธยสมเด็จพระบรมราชชนนีว่า "สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพระพันปีหลวง"
สมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ สวรรคตเมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๖๒ ณ พระราชวังพญาไท พระชนมายุ ๕๕ พรรษา

Queen Sri Bajarindra, the Queen Mother
Personal name: Princess Saowapha Phongsri, born on January 1, 1864, a daughter of King Mongkut and Queen Somdet Phra Piyamavadi Sri Bajarin Mata (Chao Chom Manda Piam). When grew up, she served as a royal consort of King Chulalongkorn who bestowed upon her the title of Phra Nangthoe Phra Ong Chao Saowapha Phongsri in 1878 and a year after, the title of Phra Nangchao Saowapha Phongsri Phra Worarajadevi.

After the Prince Vajirunhis became the Crown Prince of Siam, King Chulalongkorn bestowed upon her the title of Phra Nangchao Saowapha Phongsri Phra Akhrarajadevi, as the Queen Mother of the Crown Prince.

During the absence of King Chulalongkorn absence on Europe tour in 1897, she played a vital role of the Regent. In this regard, the King bestowed upon her the title of Queen Saowapha Phongsri, the Regent. On King Vajiravudh’s coronation, he again bestowed upon her the title of Queen Sri Bajarindra, the Queen Mother.
She died at Phayathai Palace on October 20, 1919, aged 55.
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากซ้ายไปขวา
๑. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านภาพรประภา กรมหลวงทิพยรัตนกิริฏกุลินี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าคุณจอมมารดาสำลี
๒. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากาญจนากร พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี
๔. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าเยาวมาลย์นฤมล กรมขุนสวรรคโลกลักษณวดี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับพระอรรคชายาเธอ พระองค์เจ้าอุบลรัตนนารีนาค กรมขุนอรรควรราชกัลยา
๕. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพวงสร้อยสอางค์ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาเที่ยง
๖. สมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าคุณจอมมารดาสำลี เป็นพระมเหสีชั้นลูกหลวงตำแหน่งพระราชเทวีในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ภาพนี้ ฉายโดย โรเบิร์ต เลนซ์ ช่างภาพประจำราชสำนักในสมัยรัชกาลที่ ๕

Daughters of King Mongkut and King Chulalongkorn’s, from left to right.
1. Princess Nabhabhorn Prabha, a daughter of King Mongkut and Chao Chom Manda Samli.
2. Princess Kanchanakara, a daughter of King Mongkut and Chao Chom Manda Sangwan.
3. Princess Suthathiphayarat , a daughter of King Chulalongkorn and Queen Sukhumalmarasri.
4. Princess Yaovamalaya Narumala, Princess of Sawankhalok, a daughter of King Chulalongkorn and the Princess Ubolratana Narinaga Argavoraraja Kalya, the Princess Consort.
5. Princess Puangsoi Sa-ang, a daughter of King Mongkut and Chao Chom Manda Thiang.
6.  Princess Sukhumala Marasri, the Princess Consort of King Chalulongkorn, a daughter of King Mongkut and Chao Chom Manda Samli. Taken by Robert Lenz, a court photographer in the 5th reign.
หม่อมราโชทัย (หม่อมราชวงศ์กระต่าย อิศรางกูร)
บุตรของพระวงศ์เธอ พระองค์เจ้าชอุ่ม กรมหมื่นเทวานุรักษ์ พระบิดาได้นำไปถวายตัวกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งขณะนั้นยังดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎและทรงพระผนวชอยู่ เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎทรงสนพระราชหฤทัยในภาษาอังกฤษ หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ได้ศึกษาตามพระราชนิยม โดยมีมิชชันนารีที่เข้ามาสอนศาสนาเป็นผู้สอน จนได้ชื่อว่าเป็นผู้มีความรู้ภาษาอังกฤษดี เมื่อสมเด็จเจ้าฟ้ามงกุฎเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หม่อมราชวงศ์กระต่ายก็ติดตามสมัครเข้ารับราชการ และได้รับพระราชทานเลื่อนอิสริยยศเป็น "หม่อมราโชทัย" พุทธศักราช ๒๔๐๐ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้หม่อมราโชทัยเป็นล่ามหลวงไปกับคณะราชทูตไทยที่เชิญพระราชสาสน์และเครื่องมงคลราชบรรณาการ ไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรียแห่งอังกฤษ การเดินทางไปในครั้งนั้นหม่อมราโชทัยได้แต่งหนังสือนิราศลอนดอน หม่อมราโชทัยถึงแก่อนิจกรรมเมื่อพุทธศักราช ๒๔๑๐ สิริอายุ ๔๗ ปี ภาพนี้ถ่ายโดย หลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี)

Mom Rachothai (M.R. Kratai Isarangura)
A son of Prince Cha-um Krom Muen Devanurak who took his son to serve King Mongkut who at that time was Prince Mongkut. Because of King Mongkut’s interest in English, M.R Kratai also studied English from missionary and made him very good in English. Upon crowning as King Mongkut, M.R.Kratai then joined the official service in his reign and given the title of Momrachothai. In 1857 mission, he was assigned to be interpreter accompanying the Thai delegation to promote diplomatic relations with tribute and a letter to Queen Victoria. During the journey, he composed the well-known travel poetry entitled Nirat London (Leaving for London). He died in 1867, aged 47, taken by Luang Akani Naruemitr (Chit Chitrakhani).
สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าสุทธาทิพยรัตน์ สุขุมขัตติยกัลยาวดี กรมหลวงศรีรัตนโกสินทร
พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับสมเด็จพระปิตุจฉาเจ้าสุขุมาลมารศรี พระอัครราชเทวี ประสูติเมื่อวันที่ ๑๔ กันยายน พุทธศักราช ๒๔๒๐ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ ๒ มกราคม พุทธศักราช ๒๔๖๕ สิริพระชันษาได้ ๔๖ ปี

Princess Suddha Dibyaratana, Princess of Rattanakosin
A daughter of King Chulalongkorn and Queen Sukhumala Marasri, born on September 14, 1877 and died on January 2, 1922, aged 46.  
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านิลรัตน กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยกับเจ้าจอมมารดาพิม ประสูติเมื่อวันที่ ๑๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๓๕๔ ในรัชกาลที่ ๔ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็น กรมหมื่นอลงกฎกิจปรีชา เมื่อ พุทธศักราช ๒๓๙๔ ทรงว่าการกรมแสงปืนต้น กรมแสงหอกดาบ และได้กำกับช่างเงินโรงกระษาปณ์ทำเหรียญ และทรงเป็นนักถ่ายภาพชาวไทยรุ่นแรกๆ เมื่อครั้งที่การถ่ายภาพเริ่มเข้ามาแพร่หลายในประเทศไทยรุ่นเดียวกับพระปรีชากลการ (สำอาง อมาตยกุล) และหลวงอัคนีนฤมิตร (จิตร จิตราคนี) สิ้นพระชนม์เมื่อวันพุธ ที่ ๙ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๑๐ พระชันษา ๕๗ ปี เป็นต้นราชสกุล นิลรัตน

Phra Chao Boromwongthoe Phra Ong Chao Nilaratana Krom Muen Alongkotkitpricha
Born on August 12, 1811, a son of King Loetlanaphalai (Rama II) and Chao Chom Manda Phim, originally named Phra Ong Chao Nilaratana (Prince Nilaratana), the origin of Nilaratana surname. He served in the 3rd reign of King Nangklao who bestowed upon him the title of Krom Muen Alongkotkitpricha for his official service. One of Thai photographers, contemporary with Luang Pricha Kolakarn and Luang Akani Naruemit when photography first introduced to Thailand.
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ประทับยืน จากซ้ายไปขวา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทวีถวัลยลาภ กรมหมื่นภูธเรศธำรงศักดิ์
ประทับนั่ง จากซ้ายไปขวา
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ามนุษยนาคมานพ (ต่อมาได้ทรงอุปสมบทและได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส) สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเทวัญอุไทยวงศ์ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการ

King Mongkut’s sons.
(Standing left) Phra Chao Bromwongthoe Phra Ong Chao Thongthaem Thavalyawongse Krom Luang Saphasatsuphakit.
(Standing right) Phra Chao Bromwongthoe Phra Ong Chao Thavi Thavalyalabh Krom Muen Phutharethamrongsak.
(Sitting left) Prince Manusayanakmanob (later ordained and became the Supreme Patriarch, Somdet Phra Maha Samanachao Krom Phraya Vajirayanvarorot
(Sitting right) Somdet Phra Chao Bromwongthoe Phra Ong Chao Devan Uthayavongse Krom Phraya Devawongse Varoprakar
พระโอรสธิดาในสมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก และสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
ซ้าย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอานันทมหิดล
กลาง สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ ขณะดำรงพระอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากัลยาณิวัฒนา
ขวา พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร ขณะดำรงพระราชอิสริยยศเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภูมิพลอดุลยเดช
ทรงฉายในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

Royal children of Prince Mahidol Adulyadej of Songkhla, the Prince Father and Princess Srinagarindra, the Princess Mother.
(Left) King Ananda Mahidol, at that time was given the title of Phra Worawongthoe Phra Ong Chao Ananda Mahidol (Prince Ananda Mahidol,
(center) Princess Galyani Vadhana, Princess of Naradhiwas, at that time she held the title of Phra Worawongthoe Phra Ong Chao Galyani Vadhana,
(right) King Bhumibol Adulyadej during his title of Phra Worawongthoe Phra Ong Chao Bhumibol Adulyadej,
taken in King Prajadhipok’s reign.
พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
จากซ้ายไปขวา
๑. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ขณะดำรงพระราชอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ
๒. สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร
๓. สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ กรมหลวงนครราชสีมา ขณะดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าอัษฎางค์เดชาวุธ
๔. พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ขณะดำรงพระอิสริยยศ พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าบุรฉัตรไชยากร

King Chulalongkorn’s sons
From left to right.
1. King Vajiravudh while holding the title of Prince Vajiravudh
2. Prince Maha Vajirunhis, the Crown Prince of Siam  
3. Prince Asdang Dejavudh of Nakhon Ratchasima , the Prince Brother, at that time was Prince Asdang Dejavudh
4. Prince Purachatra Jayakara, Prince of Kamphaengphet during his title of Prince Purachatra Jayakara.
เจ้าพระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (หม่อมราชวงศ์คลี่ สุทัศน์)
นามเดิม หม่อมราชวงศ์พรรณราย ต่อมาเปลี่ยนเป็น หม่อมราชวงศ์คลี่ เกิดเมื่อวันที่ ๒๐ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๓๘๖ เป็นโอรสในหม่อมเจ้าจินดา สุทัศน์ กับหม่อมอ่วม สุทัศน์ ณ อยุธยา ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ ๑๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๔๕๖
ภาพนี้ ถ่ายเมื่อดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงธรรมการและทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาแรกนา ในงานพระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงฉายด้วยพระองค์เองที่หน้าพระที่นั่งอภิเษกดุสิต พระราชวังดุสิต

Chao Phraya Wichitwong Wuthikrai
Born on August 20, 1843, his original name was M.R.Phanarai, and later changed to M.R.Khli, a son of M.C.Chinda Suthat and Mom Uam Suthat Na Ayutthaya. He died on April 19, 1913,
taken by King Chulalongkorn in front of Phra Thinang Aphisek Dusit, Dusit Palace, when he was Minister of Education and royally appointed the Ploughing Lord in the Royal Ploughing Ceremony.

ผู้สนับสนุน



© 2018 เฉลิมฟิล์มกระจก ฉลองมรดกความทรงจำแห่งโลก